นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กก พ. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) สำหรับการ เรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงจ่ายค่า ไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.49 บาทต่อหน่วยต่อไปอีก 4 เดือน
สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟที (ตามปกติ) ในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564 ประกอบด้วย
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564 เท่ากับประมาณ 67,885.43 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. 2564 ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 60,685.17 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 11.86%
2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค.- ส.ค. 2564 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก 55.5% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวม 17.02% และ ค่าเชื้อเพลิงลิกไนต์ของ กฟผ. 8.73% ถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน 8.72% และอื่นๆ อีก 10.03%
3. สถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ตามข้อมูลจริงเดือนมกราคม 2564 ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 30 บาท/ดอลลาร์ และราคาน้ำมันดิบดูไบอ้างอิงที่ 54.8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิต ไฟฟ้าสูงขึ้นจากประมาณในรอบเดือน ม.ค.-เม.ย. 2564 โดยที่เชื้อเพลิงอื่นๆ ปรับตัวลดลง ดังที่แสดงในตาราง
ประเภทเชื้อเพลิง หน่วย ม.ค.-เม.ย.64 พ.ค.?ส.ค.64 เปลี่ยนแปลง (ประมาณการ) (ประมาณการ) [2]-[1] [1] [2] -ราคาก๊าซธรรมชาติ ทุกแหล่ง* บาท/ล้านบีทียู 225.53 241.07 +15.54 -ราคาน้ำมันเตา บาท/ลิตร 20.15 15.63 -4.52 -ราคาน้ำมันดีเซล บาท/ลิตร 22.61 20.49 -2.12 -ราคาลิกไนต์ (กฟผ.) บาท/ตัน 693.00 693.00 0.00 -ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ย (IPPs) บาท/ตัน 2,302.57 2,261.09 -41.48 หมายเหตุ: *ราคาก๊าซฯ รวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน
4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (วันที่ 1-31 มกราคม 2564) เท่ากับ 30 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจาก ประมาณการในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 31.4 บาท/ดอลลาร์
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบ และอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 แล้วพบว่าอาจมีผลต่อการประเมินค่าเอฟที จึงพิจารณาใช้สมมติฐานน้ำมันดิบดูไบที่ 60 เหรียญสหรัฐ/บาร์บาเรล และอัตราแลก เปลี่ยนที่ 31 บาท/ดอลลาร์ ในการคำนวณแทนและประเมินเอฟทีตลอดทั้งปี ส่งผลให้ค่าเอฟทีเป็น -18.02 สตางค์ต่อหน่วยในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564 และ -7.95 สตางค์ต่อหน่วยในรอบเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2564 ตามลำดับ (เฉลี่ย -13.14 สตางค์ต่อหน่วยตลอด ปี)
นอกจากนี้หากพิจารณาความสามารถในการตรึงค่าเอฟทีที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย จะต้องใช้เงินบริหารจำนวน 2,610 ล้านบาท ในขณะที่ กกพ. ยังคงมีเงินบริหารเก็บไว้จำนวน 4,129 ล้านบาท กกพ. จึงตัดสินใจตรึงค่าเอฟทีที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วยใน รอบเดือน พ.ค. ? ส.ค. 2564
"กกพ. มองว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 54.8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มาอยู่ในระดับ 60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในเดือนมีนาคม 2564 และแนวโน้มการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทจาก 30 บาท/ดอลลาร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มาเป็น 31 บาท/ดอลลาร์ ในเดือนมีนาคม 2564 อาจส่งผลต่อค่าเอฟทีในช่วงปลายปี อีกทั้งความต้องการ พลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คลี่คลายในครึ่งปีหลัง จะส่งผลต่อการเพิ่ม ความต้องการใช้เชื้อเพลิงในตลาดโลกอย่างรุนแรง จึงใช้หลักการประเมินค่าเอฟทีตลอดทั้งปีเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีศักยภาพในการ รักษาเสถียรภาพค่าไฟฟ้าตลอดปี 2564" นายคมกฤช กล่าว ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือน พฤษภาคม- สิงหาคม 2564 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 5-19 มีนาคม 2564 ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป