ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.20 แข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯกดดอลลาร์อ่อน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 19, 2021 09:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.20 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 31.28 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สหรัฐออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ประกอบกับมีแรงเทขายดอลลาร์เพื่อทำกำไร โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงิน ภูมิภาค

"บาทแข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาแย่กว่าคาด และมีแรงเทขายทำ กำไร" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.10 - 31.30 บาท/ดอลลาร์

"ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทขึ้นอยู่กับทิศทางดอลลาร์เป็นสำคัญ ส่วนสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศอาจมีผลในช่วงสั้นๆ" นัก
บริหารเงิน กล่าว

THAI BAHT FIX 3M (16 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.31915% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.36244%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.72 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 108.82/83 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1970 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1979/1980 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.271 บาท/ดอลลาร์
  • สศช.ชี้วงเงินกู้ 1 ล้านล้านเบิกจ่ายไปแล้ว 78% ปัจจุบันเหลือวงเงิน 240,000 ล้านบาท ในส่วนนี้เป็นเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจ
และสังคม 214,000 ล้านบาท เตรียมเดินหน้าโครงการเศรษฐกิจฐานราก 45,000 ล้านบาท ให้แต่ละจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดเสนอ
โครงการเข้ามา โดยจะจัดสรรเงินให้จังหวัดละ 500-700 ล้านบาท ส่วนโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ยังไม่มีการหารือ รอประเมิน
สถานการณ์และประเมินผลโครงการเราชนะก่อน
  • "นายกฯ" มั่นใจรัฐบาลมีเงิน 3.8 แสนล้าน ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย มั่นใจคุมโรคระบาดระลอกนี้ได้ เชื่อประชาชนให้ความ
ร่วมมือเต็มที่
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (U.S. Treasury) ได้เผยแพร่รายงานการ
ประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ฉบับล่าสุด เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 ซึ่งระบุว่า
ประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ใน monitoring list ต่อเนื่องจากการประเมินครั้งก่อน (เดือนธันวาคม 2563) เนื่องจากประเทศไทยเกิน
ดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ซึ่งเป็นเกณฑ์และ
เงื่อนไขภายใต้กฎหมายภายในของสหรัฐฯ ที่กำหนดให้ติดตามประเทศใน monitoring list ต่อเนื่องไปอีก
2 รอบการประเมิน
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อสัปดาห์ทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าใน
ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเข้าใกล้อัตราการติดเชื้อสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มการแพร่ระบาด
  • โป๋อ่าว ฟอรั่ม ฟอร์ เอเชีย (Boao Forum for Asia: BFA) รายงานในวันนี้ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
เอเชียจะแตะระดับ 6.5% เป็นอย่างน้อยในปี 2564 หลังจากที่หดตัว 1.7% ในปี 2563
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้าน พุ่งขึ้น 19.4% ในเดือนมี.ค. สู่ระดับ 1.739 ล้านยูนิต
ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1.613 ล้านยูนิต
  • มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 86.5 ในเดือนเม.ย.
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี จากระดับ 84.9 ในเดือนมี.ค. แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 89.6 โดยการพุ่งขึ้น
ของดัชนีความเชื่อมั่นได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในวงกว้าง
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและ
การบริการ (เบื้องต้น) เดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ