(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.43 ทรงตัวจากวานนี้ คาดกรอบวันนี้ 31.30-31.50 ตลาดจับตาผลประชุมเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 27, 2021 11:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.43 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ เดียวกับปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ เนื่องจากตลาดรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ส่วนปัจจัยใน ประเทศที่มีผลต่อค่าเงินบาท ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการขายดอลลาร์ของผู้ส่งออก

"บาททรงตัวจากช่วงเย็นวานนี้ ตลาดรอดูผลประชุม FOMC แต่มีปัจจัยในประเทศที่ส่งผลจากค่าเงินบาทคือ สถานการณ์โควิด- 19 และแรงขายดอลลาร์จากผู้ส่งออก" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.30 - 31.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (26 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.37792% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.37004%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 31.41750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.09 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.30/90 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2080 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2073/2120 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.439 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท เจแปน เครดิต เรทติง เอเยนซี จำกัด (เจซีอาร์) ซึ่ง
เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ระดับเอลบ และยืนยันมุมมองความ
น่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยให้เหตุผลว่าแม้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
ต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกและการท่องเที่ยว
  • "คลัง" เตรียมคลอดมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ยันมีงบสำรองรับมือวิกฤตโควิด-19 กว่า 3 แสนล้านบาท
เน้นลดภาระประชาชน กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ "สุพัฒนพงษ์" แย้มมาตรการรอบใหม่ประกาศ พ.ค. เริ่มใช้ มิ.ย.นี้ ยันไม่กู้
เพิ่ม พร้อมออกมาตรการจูงใจคนมีเงินฝากใช้จ่าย ช่วยดันจีดีพี ส่วนการเปิดรับนักท่องเที่ยวเริ่ม ก.ค. เหมือนเดิม
  • "แบงก์พาณิชย์" เร่งประเมินผลกระทบโควิดระลอก3 หวังช่วยลูกหนี้ "ไทยพาณิชย์" ชี้รอบนี้กระทบวงกว้างหนักกว่ารอบที่
ผ่านมา รับลูกหนี้รายย่อยแห่ขอความช่วยเหลือเพิ่ม จากโควิดระลอก 2 ขณะที่กรุงศรี เล็งสรุปมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม ส่วน"ที
เอ็มบี" ย้ำติดตามพอร์ตลูกหนี้ใกล้ชิด หวังรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ระดับที่ดี
  • ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ออกมาตรการจัดการหนี้นอก
ระบบอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือนที่ประสบปัญหาการเงินและอาจต้องไปพึ่งเงินกู้จากนอกระบบ 3 โครงการ
คือ โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สำหรับชำระหนี้นอกระบบที่เกิดจากเกษตรกรลูกค้า คู่สมรส บุตร บิดา
มารดาของเกษตรกรลูกค้าหรือของคู่สมรสซึ่งอยู่ในอุปการะของเกษตรกรลูกค้า วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 1 แสนบาท
  • บิตคอยน์ดีดตัวทะลุระดับ 53,000 ดอลลาร์เมื่อคืนวานนี้ ขานรับข่าวที่ว่า เจพีมอร์แกนกำลังเตรียมจัดตั้งกองทุนบิตคอยน์
สำหรับลูกค้า
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26
เม.ย.) ก่อนที่การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มขึ้นในวันอังคารที่ 27 เม.ย. และสิ้นสุดลงในวันพุธที่
28 เม.ย.ตามเวลาสหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (26 เม.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 27-28 เม.ย.นี้ รวมทั้งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของสหรัฐ
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวไร้ทิศทางในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • นักลงทุนจับตาธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งจะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า BOJ จะคงนโยบายการ
เงินในการประชุมครั้งนี้ หลังจากที่ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% ในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 27-28 เม.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาด
การณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับใกล้ 0% และเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่าง
น้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2564 (ประมาณ

การเบื้องต้น), ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค., รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนมี.

ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ