นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.20 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเมื่อเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 31.15 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลังได้รับปัจจัยหนุนจาการที่ รมว.คลังสหรัฐออกมาส่งสัญญาณที่จะมีการปรับ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
"บาทอ่อนค่าจากช่วงสิ้นเดือนเมษายน เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าจากการที่ รมว.คลังสหรัฐ ออกมาพูดว่าอาจต้องปรับขึ้น ดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ" นักบริหารเงิน กล่าว
ส่วนปัจจัยในประเทศจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งคาดว่า กนง.จะมีมติคงอัตรา แต่อาจมีการ ปรับมุมมองเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์
นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.10 - 31.30 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (30 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.35694% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.36199%
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.32 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 108.87 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2019 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.2096 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.198 บาท/ดอลลาร์
- นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะกรณีรายจ่ายลงทุนรายการปี
เดียวและรายการผูกพันใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะขณะนี้ได้เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณแล้ว โดยให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือ
รัฐมนตรีที่กำกับดูแลหรือควบคุมกิจการของหน่วยงานต่างๆ ได้ไปเร่งรัด ติดตามและประเมินการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย
โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการกระตุ้นให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
จะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เพื่อทบทวนกรอบวินัยการเงินการคลังต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(จีดีพี) ขณะนี้ครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีที่จะต้องทบทวนกรอบวินัยการเงินการคลังใหม่ หลังจาก พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ มี
ผลบังคับใช้ไปตั้งแต่ปี 61
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยตัวเลขการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้
ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในโครงการแรกวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ได้
สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา และโครงการที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อสินเชื่อฟื้นฟูฯ วงเงิน
150,000 ล้านบาท พบว่าสินเชื่อพิเศษทั้ง 2 โครงการมียอดอนุมัติสินเชื่อล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว 138,707 ล้านบาท โดยให้กับ
เอสเอ็มอี 78,166 ราย
- สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการทั้งค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก ลดลง 43% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะความเชื่อ
มั่นด้านของยอดขายในสาขาเดิมลดลงทั้งยอดขายต่อบิลและความถี่ในการจับจ่ายลดลงทุกภูมิภาค ส่วนใหญ่กังวลกำลังซื้อของผู้บริโภคมีสัญญาณ
ปรับตัวแย่กว่าเดือนมี.ค.มากกว่า 25% จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เดือนเม.ย. และประเมินว่ายอดขายจะได้ผล
กระทบ 15-40% เทียบกับเดือน มี.ค. 64
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.1% เมื่อเทียบเป็น
รายเดือน แตะที่ 5.129 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3%
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า สหรัฐขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 5.6% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7.44 หมื่นล้าน
ดอลลาร์ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นจนทำให้ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) หลัง
จากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้
เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้
เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนเม.ย.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการ
ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ
(ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--