ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.19 ระหว่างวันแกว่งกรอบแคบ ตลาดยังไร้ปัจจัยหนุนเด่นชัด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 12, 2021 17:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.19 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.19/20 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบที่ 31.17-31.24 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากยังไม่ค่อยมีปัจจัยเด่นชัดที่จะส่งผลต่อทิศ ทางของเงินบาท โดยคืนนี้ นักลงทุนจับตาการรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นกว่า 3% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหตุเพราะฐานปีก่อนต่ำ จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง

"ตลาดรอดูเงินเฟ้อของสหรัฐคืนนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.6% เพราะเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ฐานต่ำ จากที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง ซึ่งตลาดก็รอดูด้วยว่าถ้าเงินเฟ้อขึ้นเพิ่มขึ้นมาก เฟดจะปรับดอกเบี้ยขึ้นหรือไม่ ถ้าเฟดไม่ปรับตาม ดอลลาร์ก็อาจจะอ่อนค่าได้" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.10 - 31.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.76 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.80/82 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2131 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2134/2138 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,571.85 จุด ลดลง 7.08 จุด (-0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 117,161 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,275.08 ลบ.(SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี เรียกรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน และทีมเศรษฐกิจ หารือมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผล
กระทบจากสถานการณ์โควิด-19
  • ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารออมสิน ดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทา
ความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธนาคารฯ จึงกำหนดมาตรการพักชำระเงินต้น - ชำระเฉพาะ
ดอกเบี้ย ให้ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SMEs ทั้งที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการได้ตาม
ความสมัครใจ เช่นเดียวกับลูกค้ารายย่อย ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนของผู้ที่ต้องขาดรายได้หรือรายได้ลดลงเนื่องจากได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีมีนักวิชาการตั้งข้อสงสัยกรณีรัฐบาลนำวัคซีนซิโนแวกที่ยังไม่
ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) มาฉีดให้แก่คนไทย ส่งผลให้คนไทยรับวัคซีนน้อยนั้นว่า วัคซีนของซิโนแวกเป็นวัคซีนที่มีความ
ปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยมีการอนุมัติให้ใช้กว่า 45 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง อย. ได้ประเมินและขึ้นทะเบียน
โดยผ่านเกณฑ์องค์การอนามัยโลกเรื่องประสิทธิผลในการป้องกันโรคมากกว่า 50%, สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%, ป้องกันการ
เกิดอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 77.9% (ผลการศึกษา Phase 3 จากประเทศบราซิล) รวมทั้ง ประสิทธิผล
ของการใช้วัคซีน ซิโนแวก ในประเทศชิลี พบว่า ป้องกันโรคได้ 67%, ป้องกันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล 85%, ป้องกันการรักษาตัวใน
ห้องผู้ป่วยหนัก 89% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 80% (ข้อมูลจาก Evidence Assessment ของวัคซีนซิโนแวค องค์การอนามัยโลก)
  • คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด-19 มีมติเห็นชอบการปรับแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19
ด้วยกลยุทธ์ "ฉีดปูพรม" (Mass Vaccination) ในพื้นที่ระบาด เนื่องจากสถานการณ์การระบาดในขณะนี้ ยังอยู่ในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลเป็นหลัก
  • คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติมีมติเห็นชอบ เพิ่มจำนวนวัคซีนจากเป้าหมายเดิม 100 ล้านโดส เป็น 150 ล้านโดส และ
ปรับแนวทางการฉีดวัคซีน โดยปูพรมฉีดเข็มแรกให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด เพื่อ ลดโอกาสการติดเชื้อและความรุนแรงของโรค
ซึ่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.
  • องค์การสหประชาชาติ (UN) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 5.4% ในปี 2564
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนม.ค.ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.7% เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐเป็น
ปัจจัยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
  • คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) คาดการณ์ในวันนี้ว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU) จะขยายตัว 4.2% ในปี 2564
และ 4.4% ในปี 2565 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้
  • ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทซิโนฟาร์ม จากประเทศ
จีน ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกนั้น ได้รับการพิจารณาว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19
  • ผลวิจัยการใช้งานจริงจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทซิโนแวก

ของจีนนั้น สามารถลดการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ของอินโดนีเซียลงได้อย่างมาก ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประเทศในกลุ่ม

กำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้มีรายงานว่า วัคซีนซิโนแวก มีประสิทธิภาพต่ำกว่าวัคซีนของบริษัทจากชาติตะวันตก

อย่างมากในการทดลองทางคลินิก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ