คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 เป็นขยายตัวได้ในกรอบ 0.5-2.0% จากครั้ง ก่อนคาดขยายตัว 1.5-3% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบ ต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไป โดย กกร. คาดว่า การส่งออกปีนี้จะขยายตัวเป็น 5.0-7.0% จากเดิมคาด 4-6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คงคาดการณ์ในกรอบ 1.0-1.2%
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธาน กกร.กล่าวว่า จากสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ถึงแม้ กกร.จะได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลงมา 1.5-3% แล้วในครั้งก่อนก็ตาม แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด- 19 ระลอกเดือนเมษายนมีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่คาด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน การแพร่ระบาดระลอกล่าสุดได้ ส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้ช้ากว่าเดิม โดยธุรกิจบริการดำเนินกิจการได้อย่างจำกัดจาก มาตรการควบคุมโรค ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส สองและไตรสามเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒน์ฯ ปรับลดประมาณการจีดีพีในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ต่ำกว่า ระดับ 2%
"จากช่วงนี้ไปจนถึงไตรมาสที่ 4 จะเป็นช่วงยากลำบากของภาคเอกชน หากยังไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดไว้ได้" นายสุ
อย่างไรก็ตาม แนวทางเร่งแจกกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีและปี หน้ากลับมาฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์แผนการบริหารจัดการวัคซีนที่มีความชัดเจน ไปพร้อมกับการเร่งสร้างความเข้าใจเพื่อเสริม ความเชื่อมั่นในการเข้ารับการฉีดวัคซีน จะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดเป็นภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็น ปัจจัยที่สร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชน และจะทำให้อุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้ ดังตัวอย่างในต่างประเทศที่ ประสบความสำเร็จในการกระจายวัคซีน อาทิ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ที่เศรษฐกิจในปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง
นายสุพันธุ์ กล่าวถึงการที่เศรษฐกิจโลกยังมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกให้ขยายตัวได้ ถึง 8.2% (ไม่รวมการส่งออกทองคำ) อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้าและค่าระวางเรือที่ทรงตัวในระดับ สูง รวมถึงการเร่งตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในหลายประเทศ เป็นความเสี่ยงต่อภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกในระยะต่อไป
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ของ กกร. %YoY ปี 2563(ตัวเลขจริง) ปี 2564(ณ เม.ย. 64) ปี 2564(ณ พ.ค 64) GDP -6.1 1.5 ถึง 3.0 0.5 ถึง 2.0 ส่งออก -6.0 4.0 ถึง 6.0 5.0 ถึง 7.0 เงินเฟ้อ -0.85 1.0 ถึง 1.2 1.0 ถึง 1.2
สำหรับข้อเสนอของ กกร.ที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจใน 4 เรื่อง ได้แก่
1.เร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย โดยปรับปรุงการสื่อสารกับประชาชนเพื่อลดความสับสน และบริหาร จัดการมาตรการควบ คุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ในไตรมาสที่ 4
2.เร่งผลักดัน พ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐบาลมีเม็ดเงินเพียงพอ และดำเนินโครงการด้านสาธารณสุข ด้าน การเยียวยา ชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ภาวะสถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 ที่รุนแรงและมีความไม่แน่นอนสูง
3.เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อภาคประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งให้เข้ามาพยุงกำลังซื้อได้ ในเดือนมิถุนายน และพิจารณาเพิ่มวงเงินสนับสนุนการใช้จ่ายจาก 3,000 บาท เป็น 6,000 บาท ซึ่งจะช่วยให้มีเม็ดเงินสะพัดในระบบ เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 9 หมื่นล้านบาท เป็น 1.8 แสนล้านบาท เมื่อรวมเม็ดเงินของประชาชนที่นำออกมาใช้จ่ายคู่กับเม็ดเงินจากโครงการ คนละครึ่ง
4.เสริมมาตรการดึงกำลังซื้อจากประชาชนที่มีเงินออม โดยสนับสนุนมาตรการนำรายจ่ายจากการซื้อ สินค้าไปหักภาษีเงินได้ ในวงเงิน 3-5 หมื่นบาทต่อราย ซึ่งจะจูงใจให้ประชาชนในกลุ่มนี้นำเงินฝากมาใช้จ่าย
"อยากให้ภาครัฐเร่งรัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทันทีในเดือน มิ.ย.เพื่อชดเชยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงไป โดยเฉพาะ ในภาคท่องเที่ยว หลายมาตรการที่ดีแต่สิ้นสุดโครงการไปก็อยากให้รื้อฟื้นกลับมาอีก สำหรับการออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท นั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และดุลการชำระเงินไม่ได้ติดลบ ซึ่ง เมื่อเศรษฐกิจดีแล้วก็สามารถนำกลับมาชำระหนี้คืนได้ แต่อยากเห็นภาพที่ชัดเจนว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวไปใช้ดำเนินการเรื่อง ใดบ้าง" นายสุพันธุ์ กล่าว