ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.14 แข็งค่าตามภูมิภาค จับตาตัวเลขภาคการผลิต-ทิศทางบอนด์ยิลด์สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 1, 2021 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.14 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 31.20 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า โดยตลาดยังไม่มีปัจจัย ใหม่เข้ามา ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.13 - 31.21 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าตามภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ระหว่างวันลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 31.10 - 31.25 บาท/ดอลลาร์

โดยคืนนี้ตลาดรอดูดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และทิศทางของบอนด์ยิลด์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.58 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.44 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.2230 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2227 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,618.59 จุด เพิ่มขึ้น 25.00 จุด, +1.57% มูลค่าการซื้อขาย 116,037.86 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,574.79 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ และมอบ
หมายให้กระทรวงการคลังดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 วงเงินรวม 140,380.19
ล้านบาท ประกอบด้วย 4 โครงการ ครอบคลุมประชาชนประมาณ 51 ล้านคน โดยคาดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขยายตัว
เพิ่มขึ้นมากกว่า 1% แต่ไม่ได้เป็นการขยายตัวโดยบวกเพิ่มกับคาดการณ์เดิม ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ 2.3% เนื่องจาก
คาดการณ์เดิม มีการนำตัวเลขบางส่วนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้ไปรวมอยู่ด้วยแล้ว
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน เม.ย.64 มีจำนวน 8.59 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 54.91% ของ GDP
  • ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก ระบุมีความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้การส่ง
ออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกิน 10% เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดี
  • ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า SCB EIC ได้ปรับลด
ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ในปี 64 เหลือขยายตัว 1.9% จากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัวได้ 2% รับ
ผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ในประเทศ ซึ่งคาดว่าใช้เวลาราว 4 เดือน (เม.ย.-ก.ค. 64) ในการควบคุมการ
ระบาดส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะ face to face ลดลงมากจากมาตรการควบคุมการ
แพร่ระบาดโควิด-19 และประชาชนเริ่มมีการระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อที่ค่อนข้างอ่อนแอ จากรายได้ของประชาชน
ที่ลดลง ทำให้การบริโภคในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เฉพาะกิจ จากผลกระทบจากไวรัส
โควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย ระหว่างวันที่ 1-24 พ.ค. 64 ระบุว่า ในเดือน พ.ค.64 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมทรงตัวใกล้
เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งถูกกดดันจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และผลของการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกเดือน เม.ย.ที่ขยายวงกว้าง โดย
เฉพาะภาคที่มิใช่การผลิตได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคต่อเนื่องจากเดือนก่อน อาทิ ขอความร่วมมืองดออกนอกเคหสถาน ขยาย
เวลาปิดกิจการที่มีความเสี่ยงชั่วคราว รวมถึงปรับเวลาให้บริการร้านค้าและร้านอาหาร เป็นต้น ขณะที่ภาคก่อสร้างเริ่มได้รับผลกระทบเชิง
ลบจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน
  • รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศในวันนี้ว่า จะยกระดับความเข้มงวดของมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับผู้ที่
เดินทางมาจากสหรัฐ, อัฟกานิสถาน, เวียดนาม, มาเลเซีย และประเทศไทย หลังจากมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์
ใหม่เพิ่มมากขึ้น
  • รมว.คลังมาเลเซียเปิดเผยว่า มาเลเซียจะทบทวนคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจ รวมถึงยอดขาดดุลงบประมาณอีกครั้ง
หลังจากที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์เต็มรูปแบบเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ญี่ปุ่นและสหรัฐเตรียมจัดการหารือแบบตัวต่อตัวครั้งแรก ระหว่างนายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น และ
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ในวันศุกร์นี้ ณ กรุงลอนดอน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ