สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2564 โดย IMD World Competitiveness Center ว่า ปี 2564 ในภาพรวมไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ที่อันดับ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่ว โลก ขยับขึ้น 1 อันดับจากอันดับที่ 29 ในปีที่แล้ว โดยมีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 75.39 มาอยู่ที่ 72.52 แต่สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยของ 64 เขต เศรษฐกิจที่ลดลงจาก 71.82 ในปี 2563 มาอยู่ที่ 63.99 ในปีนี้
- ผลการจัดอันดับรายปัจจัยของไทย
เมื่อพิจารณาปัจจัย 4 ด้านที่ใช้ในการจัดอันดับ ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นจากปีที่แล้วใน 3 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพ ของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ในขณะที่ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับที่ลดลง โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้าน ดังนี้
ผลการจัดอันดับรายปัจจัยของไทย ปี 2564 ปี 2563 1.ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) อันดับ 21 (-7) อันดับ 14 2.ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) อันดับ 20 (+3) อันดับ 23 3.ด้านประสิทธิภาพของธุรกิจ (Business Efficiency) อันดับ 21 (+2) อันดับ 23 4.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อันดับ 43 (+1) อันดับ 44
"ผลการจัดอันดับของปัจจัยหลักทั้ง 4 ด้าน มีผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ด้านประสิทธิภาพของ ภาคธุรกิจ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่ ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มอันดับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (พ. ศ.2563-2564) จากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด 19 ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการ ส่งผลให้ อันดับด้านนี้ ลดลงจากปีก่อนถึง 7 อันดับ" เอกสารระบุ
สำหรับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจนั้น ประเทศไทยเคยได้รับการจัดอันดับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก อย่างต่อเนื่องมา 3 ปีในช่วงปี 2560 - 2562 ก่อนที่จะมีอันดับลดลงในปี 2563 ต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ซึ่งมีอันดับลดลงมาอยู่ในอันดับที่ 21 จาก อันดับที่ 14 ในปี 2563 อันเป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลถึงเกือบทุกปัจจัยย่อยในด้านนี้ ยกเว้นด้านการจ้าง งานที่มีอันดับดีขึ้นถึง 7 อันดับ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากคือด้านการค้าระหว่างประเทศ (International trade) ที่มีอันดับลดลงถึง 16 อันดับ จากปี 2563 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อันดับของการค้าระหว่างประเทศของไทยในปีนี้ลดลงอย่างมากนั้น มาจากตัวชี้วัดมูลค่าและอัตราการเติบโต ของดุลการค้าภาคบริการ (Balance of commercial services) ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางขนส่งและท่องเที่ยวของไทยปรับลดลงอย่าง มาก เนื่องมาจากในช่วงที่ผ่านมา จำนวนการเดินทางและจำนวนนักท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในไทย ลดลงอย่างมหาศาลจากการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 และมีผลสืบเนื่องไปถึงภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ระบุว่า ประเด็นสำคัญจากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ปี 2564 โดย IMD พบว่า 4 ปัจจัยสนับสนุนของเขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้นๆ ของโลกในปีนี้ คือ การลงทุนในนวัตกรรม (Innovation) การนำเทคโนโลยีมา ใช้ (Digitalization) การดูแลทรัพยากรมนุษย์โดยมีระบบสวัสดิการที่ดี (Welfare benefits) และความร่วมมือสมานฉันท์ในสังคม (Socialcohesion) ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยให้เขตเศรษฐกิจเหล่านี้มีสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic performance) ที่เข้มแข็งในช่วงเวลาที่ ทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
สำหรับประเทศไทยจากแนวโน้มผลการจัดอันดับของไทยในช่วงที่ผ่านมาในระยะยาวมีอันดับความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างคงที่ แต่มักมีความผันผวนในปีที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ภายในประเทศ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2563 ที่ได้รับกระทบจาก สถานการณ์โควิด-19 ถึงแม้จะกลับมาดีขึ้น 1 ในปี 2564 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีความท้าทายในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สร้างความหลากหลายทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาค เศรษฐกิจเดิมที่เป็นเสาหลักของประเทศโดยส่งเสริมการน เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ และการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีมูลค่าสูงและ สอดคล้องกับความต้องการของโลกอนาคต และการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติได้ดังเช่นที่ประเทศชั้นนำได้ดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยปรับระบบการศึกษาให้มีความก้าวหน้า มีความยึดหยุ่น โดยให้ทุก ฝ่ายได้มีส่วนร่วม เพื่อสร้างคนที่สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่ภาพรวมของผลการจัดอันดับในปีนี้ ปรากฎว่าเขตเศรษฐกิจในยุโรป ยังคงแสดงความแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยทั้ง 5 เขตเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2563 ยังคงอยู่ในกลุ่มนี้ ในปี 2564 โดยมี 3 เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงขึ้น คือ สวิสเซอร์แลนด์ที่เลื่อนจากอันดับ 3 ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 และสวีเดน เนเธอร์แลนด์ที่เลื่อน มาเป็นอันดับ 2 และ 4 ตามลำดับ ในขณะที่เดนมาร์คลดลงจากอันดับที่ 2 ไปเป็นอันดับ 3
ส่วนเขตเศรษฐกิจในเอเชีย เป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 10 อันดับแรกมากที่สุด รองจากยุโรป โดยมี 3 เขตเศรษฐกิจคือ สิงคโปร์ ฮ่องกงและไต้หวัน โดยสิงคโปร์มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 1 ในปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับที่ 5 ใน ปี 2564 เช่นเดียวกับฮ่องกงที่มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 5 ในปีที่แล้วมาอยู่ที่อันดับ 7 ในปีนี้ แต่ที่น่าสนใจคือ ในปีนี้ ไต้หวัน สามารถขยับอันดับขึ้น มา 3 อันดับจากปี 2563 มาอยู่ในอันดับที่ 8 ในปี 2564 จากความสามารถในการบริหารจัดการและรับมือวิกฤตโควิด-19 ภายในประเทศได้ดี ทำให้มีอันดับที่ดีขึ้นในทุกปัจจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดจากอันดับที่ 17 ในปี 2563 เป็นอันดับที่ 6 ในปีนี้