ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 31.45 อ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน คาดกรอบต้นสัปดาห์ 31.40-31.50

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 18, 2021 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 31.39 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้ปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าจากความกังวลเกี่ยวนโยบายดอกเขี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.35 - 31.45 บาท/ดอลลาร์

"บาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าตามภูมิภาค โดยปิดตลาดเย็นนี้ อ่อนค่าสุดของวันและทำนิวไฮในรอบ 1 เดือนพอดี" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 31.40 - 31.50 บาท/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาดู ได้แก่ ทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ, อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐ และสถานการณ์ราคา ทองคำในตลาดโลก

"ระดับ 31.50 บาท/ดอลลาร์ ยังเป็นแนวต้านสำคัญ ที่คาดว่าจะมีแรงขายทำกำไรออกมาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากค่าเงินเปลี่ยน แปลงรวดเร็ว" นักบริหารเงิน กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.13 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.28 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1912 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1910 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,612.98 จุด ลดลง 4.67 จุด, -0.29% มูลค่าการซื้อขาย 110,189.28 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,434.89 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ศบค.เห็นชอบแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 150 ล้านโดสของประเทศไทย โดยได้เพิ่มกรอบการจัดหาวัคซีนจาก 100 ล้าน
โดส ภายในปี 2564 เป็น 150 ล้านโดส ภายในปี 2565 ซึ่งวัคซีนที่จัดหาเพิ่มเติมนี้ เพื่อรองรับกรณีที่ต้องเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน,
การเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย, การให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค หรือกรณีอื่นใดที่ต้องมีการใช้วัคซีนเพิ่ม
  • กระทรวงการคลัง เผยขณะนี้มีประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิโครงการ "คนละครึ่ง" ระยะที่ 3 แล้ว 27.34 ล้านคน ยังเหลือสิทธิ
ให้ลงทะเบียนเพิ่มได้อีก 3.65 ล้านคน ทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น.
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ ซึ่งรวมถึงการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1%
และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ระดับราว 0%
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดซึ่งมีความผันผวน ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือน พ.
ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี โดยได้ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น และถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่กำลัง
เผชิญกับภาวะอ่อนแอของราคาผู้บริโภค
  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ อย่าง
ไรก็ดี คาดว่ามีโอกาสมากขึ้นที่ธนาคารกลางจีนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว
กว่าที่คาดไว้ 1 ปี
  • สัปดาห์หน้า ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และกระทรวงพาณิชย์
รายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพ.ค.64

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ