ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 31.86 อ่อนค่าสุดรอบ 13 เดือน พรุ่งนี้มีโอกาสแตะ 32.00

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2021 17:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 31.86 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.75/77 บาท/ดอลลาร์

ปิดตลาดวันนี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 13 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.63 หลังจากระหว่างวันอ่อนค่าสุดไปที่ระดับ 31.92 บาท/ดอลลาร์ เป็นการอ่อนค่าสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 51 รายในวันนี้ ประกอบกับปัจจัยต่างประเทศที่ยังกังวลต่อเนื่องกรณีที่ธนาคารกลาง สหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นกว่าคาด

"บาทที่อ่อนค่าวันนี้ มีหลายปัจจัยผสมโรงกันไป จากเรื่องเฟดที่จะขึ้นดอกเบี้ยไวขึ้น ก็ยังมีผลต่อเนื่องมาถึงสัปดาห์นี้ รวมทั้ง panic ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดในประเทศ ส่วน กนง.ที่หั่น GDP ปีนี้ลง น่าจะมีผลจำกัด เพราะคนคาดการณ์ไว้แล้วว่าต้องปรับลด" นัก บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน มองว่า แนวโน้มเงินบาทวันพรุ่งนี้ยังมีทิศทางอ่อนค่าแตะระดับ 32.00 บาท/ดอลลาร์ ให้กรอบไว้ที่ 31.75- 32.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งมองว่าระยะนี้ นักลงทุนจะเข้าซื้อดอลลาร์ และขายเงินบาทเป็นหลัก

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.04 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.56/57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1938 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1906/1950 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,592.08 จุด ลดลง 7.15 จุด (-0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 77,735 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 214.03 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% โดยมองว่าการระบาดของ
โควิดรอบ 3 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึง ขณะที่ระยะข้างหน้ายังมีความเสี่ยงจากโควิดระบาดรอบใหม่ และเห็นว่า
มาตรการช่วยเหลือธุรกิจในรูปแบบต่างๆ น่าจะดีกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • กนง. ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 64 ลงเหลือ 1.8% จากเดิมคาด 3% ตามแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ที่ปรับลดลง และอุปสงค์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบ 3 ขณะที่มองว่าภาคบริการ และแรงงานที่ประกอบอาชีพ
อิสระมีความเปราะบางมากขึ้น และอาจฟื้นตัวได้ช้า
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ปัดข้อเสนอของบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้ล็อกดาวน์พื้นที่กรุงเทพฯ 7 วัน เพื่อควบคุม
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด แต่จะให้ใช้มาตรการ Bubble and Seal แทน ซึ่งจะเป็นการควบคุมเฉพาะจุดที่มีปัญหา โดยชี้แจงว่าเหตุ
ที่เลือกไม่ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ เพราะอาจจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังต่างจังหวัด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาด
จากกรุงเทพฯ ออกไปสู่ต่างจังหวัดได้
  • ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่า การพัฒนาวัคซีน Chulacov19 ชนิด mRNA จะแล้ว
เสร็จ และใช้งานได้อย่างเร็วในช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 65 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองในคน ระยะที่ 1
  • ภาคเอกชน เชื่อว่าเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน หากทำได้จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมา และคาดว่าในไตร
มาส 4 ปีนี้ จะมีกระแสเงินสดเข้ามาราว 50,000 - 100,000 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนช่วยหนุน GDP ปีนี้ให้โตเพิ่มขึ้นได้อีก 0.3% เป็น
0.8-2.3%
  • บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่บริษัทผลิตนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโค
วิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) และสายพันธุ์แคปปา (Kappa) ซึ่งตรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดียได้
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 59.2 ในเดือน มิ.ย.
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 180 เดือน จากระดับ 57.1 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจและความคืบหน้าในการ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนเม.ย.ว่า กรรมการบริหารของ BOJ มีความเห็นตรงกันว่า
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่บรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำมาใช้นั้น อาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นอย่าง
รวดร็ว ซึ่งมุมมองดังกล่าว ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า BOJ อาจคงนโยบายการเงินที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีกช่วงหนึ่ง และเชื่อว่าการผ่อนคลาย
นโยบายการเงิน และโครงการเยียวยาผลกระทบจากโควิดที่ BOJ ใช้อยู่นี้ จะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในระดับปานกลางอยางยั่งยืน
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ไตร

มาส 1/2564, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นและภาคบริการขั้นต้น เดือนเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้าน

ใหม่เดือนพ.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค. และจำนวนผู้

ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ