ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.04/05 อ่อนค่าจากช่วงเช้า ตลาดรอตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯพรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 1, 2021 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้อยู่ที่ระดับ 32.04/05 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.97/98 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่า และเริ่มทยอยปรับขึ้นมา โดยระหว่างวันเงินบาทเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.01 บาท/ดอลลาร์ โดยนักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ ในคืนวันศุกร์นี้ ขณะที่ในประเทศยังคงติดตามสถานการณ์ระบาด ของไวรัสโควิด-19

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.95 - 32.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.52/53 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.00/111.10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1850 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1838/1859 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,593.75 จุด เพิ่มขึ้น 5.96 จุด (+0.38%) มูลค่าการซื้อขาย 81,323 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 233.74 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์บริหารสถานการณืโควิด-19 (ศบค.) เผยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
และทำนิวไฮทั้งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยอดผู้เสียชีวิต โดยวันนี้ยอดผู้เสียชีวิต เพิ่มขึ้น 5,533 ราย และยอดผู้เสียชีวิต เพิ่มขึ้น 57 ราย
  • นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการ Phuket Sandbox ที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งจากที่ทุกฝ่ายทำงานสอดคล้องกับแนวทาง
ของ ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ พร้อมสังการให้ไปศึกษาแนวทางนี้ในจังหวัดอื่นๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้
เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปถึงเป้าหมายใหญ่
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิ.ย.64 อยู่ที่ระดับ 46.5 เพิ่มขึ้นจาก 43.0 ใน
เดือนพฤษภาคม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ และเกือบทุกธุรกิจทั้งในภาคการผลิต และภาคที่มิใช่การผลิต ยกเว้นกลุ่มผลิต
อาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ดัชนีฯ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ ประกอบกับราคา
เหล็กที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่คลี่คลาย กดดันให้ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนของธุรกิจในภาคการผลิตอยู่ใน
ระดับต่ำ
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า สำนักวิจัยฯ ได้ปรับลดประมาณการ
เศรษฐกิจปี 64 เหลือ 1.3% ลงจากเดิม 1.9% และปี 65 ปรับลดจาก 5.1% เหลือ 4.2% หลังการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 มีแนว
โน้มยาวนาน ประกอบกับการฉีดวัคซีนล่าช้า หรือวัคซีนยังมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ มีผลต่อเนื่องให้การระบาดของโควิด-19 ระลอกอื่นๆ
กำลังจะเกิดขึ้นตามมา
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ย้ำว่า ไม่ควรตื่นตระหนกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อมากเกินไป เนื่องจากภาวะดังกล่าว
มีแนวโน้มเกิดขึ้นชั่วคราวในช่วงที่เศรษฐกิจของอังกฤษเริ่มกลับมาฟื้นตัวหลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนอาจรอดพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในช่วงเริ่มต้น
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ อยู่
  • ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประกาศจัดหาเงินมูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อดำเนินการซื้อและแจกจ่ายวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด-19 ให้กับ 51 ประเทศทั่วโลก โดยครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินดังกล่าว จะถูกจัดสรรให้กับประเทศในทวีปแอฟริกา
  • มูลค่าการทำธุรกรรมควบรวมกิจการและซื้อกิจการ (M&A) ทั่วโลกในไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ระดับ 1.5 ล้านล้าน
ดอลลาร์ ซึ่งทำสถิติสูงสุดติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากบริษัทเอกชนทั่วโลกยังคงสามารถกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และนำเงินสด
ในทุนสำรองออกมาใช้จ่ายในการทำข้อตกลงทางธุรกิจ เพื่อปรับสถานะของตนเองให้อยู่รอดได้ในโลกยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-
19
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ของจีน ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 15 เดือน เนื่องจากได้รับ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญของจีน และปัญหาติดขัดด้านการขนส่ง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ