มอร์แกน สแตนลีย์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซียมีแนวโน้มสดใสในระยะยาว เนื่องจากตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่ และเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคด้วย
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การเมืองของอินโดนีเซียที่กลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคแข็งแกร่งขึ้น
"เราคาดว่ายอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะมีอัตราการเติบโตรายปีเพิ่มขึ้น 13% และ 10% ในอีก 15 ปีข้างหน้า เทียบกับ 4.5% และ 7% เมื่อ 10 ปีที่แล้ว"
ปริมาณรถยนต์และจักรยานยนต์ในอินโดนีเซียอยู่ที่ 6.8 ล้าน และ 19.8 ล้านยูนิตเมื่อสิ้นสุดปี 2549 ส่งผลให้อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 และเป็นตลาดรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียคังคงเป็นตลาดยานยนต์ที่มีอัตราการจำหน่ายรถใหม่น้อยที่สุดในภูมิภาค ในปี 2549 โดยตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์อินโดนีเซียมีอัตราการจำหน่ายรถใหม่เพียง 3.0% และ 8.7% เมื่อเทียบกับ 15.4% และ 34.0% ในประเทศไทย และ 28.3% กับ 25.0% ในมาเลเซีย
ตลาดยานยนต์ของอินโดนีเซียมีบริษัทโตโยต้า ออโต้โมบิลส์ และ ฮอนด้า มอเตอร์ไซเคิลส์ เป็นผู้ครองตลาด โดยมีส่วนแบ่งตลาด 34% และ 52% ตลอดเวลาสามปีที่ผ่านมา โดยมีบริษัทพีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่น ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเป็นตัวแทนจำหน่ายของทั้งโตโยต้าและฮอนด้า สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียล รายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา โทร.0-2253-5050 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--