ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.57 แนวโน้มอ่อนค่า กังวลภาวะเศรษฐกิจหลังใช้มาตรการคุมเข้มโควิด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 12, 2021 08:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.57 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวัน ศุกร์ที่ระดับ 32.59 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินดอลลาร์ย่อตัวลงเนื่องจากนักลงทุนเปิดรับความเสี่ยง ภายหลังจีนออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ แต่เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการแก้ไขปัญหาที่อาจะส่งผลกระทบต่อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

"วันนี้บาทมีแนวโน้มอ่อนค่าจากปัจจัยภายในเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจขา ลง" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.50 - 32.65 บาท/ดอลลาร์

  • THAI BAHT FIX 3M (9 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.21472% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.25663%
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.13 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 110.00/02 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1875 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1857/1862 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.เฉลี่ยที่ระดับ 32.664 บาท/ดอลลาร์
  • นายกฯนัดถกทีมเศรษฐกิจวันนี้ หามาตรการเยียวยาล็อกดาวน์ ช่วยนายจ้าง-แรงงาน 10 จังหวัด ในและนอกระบบ พร้อม
จ่ายเงินเพิ่มพิเศษ ตั้งเงื่อนไขเข้าประกันสังคม ชี้ประชาชนไม่กล้าจับจ่าย เล็งทบทวน "คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้" รัฐบาลพร้อมเพิ่มกรอบหนี้
สาธารณะ "เอกชน" หนุนเยียวยาล็อกดาวน์
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมเชิญภาครัฐและภาคเอกชนร่วมประชุมหารือ เรื่องการ
ยกระดับและทบทวนความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่อาเซียนทำกับจีน (AC FTA) เกาหลีใต้ (AKFTA) และอินเดีย (AIFTA) ในวันที่
15 ก.ค.64 เพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็นที่ต้องการให้มีการเพิ่มเติมในการเจรจาปรับปรุง FTA ทั้ง 3 ฉบับ ให้สอดรับกับพัฒนาการทาง
การค้าโลกและเป็นประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้าเพิ่มเติม จากความตกลงเดิมที่ยังไม่ได้มีการลด
ภาษี เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้สินค้าไทย
  • รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกอาเซียนบางประเทศ เริ่มมีความกังวลต่อการจัดตั้งความตกลงหุ้น
ส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซป) หลังจากเมียนมาได้เปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ จนอาจทำให้หลายประเทศเกิดข้อกังหาในรัฐบาลกอง
ทัพเมียนมา โดยเฉพาะญี่ปุ่น ที่ได้ประกาศคว่ำบาตรเมียนมาในช่วงก่อนหน้านี้ และสิงคโปร์ได้ประณามการใช้ความรุนแรงปราบปรามการ
ประท้วง ซึ่งอาจมีผลต่อการให้สัตยาบันของเมียนมาถูกต่อต้าน และทำให้การบังคับใช้อาร์เซปอาจชะลอออกไป หรือบังคับใช้ได้ไม่ทันต้นปี
65 นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงว่าอาจมีผลกระทบต่อการเปิดเจรจาจัดทำเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา ที่เตรียมจะประกาศเปิดเจรจาในเดือน
ก.ย.นี้ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา เพราะแคนาดาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่คว่ำบาตรเมียนมาด้วย
  • สมาคมธนาคารไทยและสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) และ ธนาคารสมาชิกทุกแห่งได้แจ้งว่า ธนาคารมีมาตรการ
ในการให้บริการ และขอให้มั่นใจว่าธนาคารจะให้บริการประชาชนได้ตามปกติ โดยเฉพาะบริการหลัก เช่น การรับฝากเงิน, ถอนเงิน,
โอนเงิน, การชำระเงิน และสินเชื่อต่างๆ ได้โดยลูกค้ายังคงใช้บริการที่สาขาและตู้เอทีเอ็มซึ่งธนาคารได้เตรียมสำรองธนบัตรไว้อย่าง
เพียงพอรวมทั้งลูกค้าสามารถใช้บริการผ่าน Mobile Banking เช่น พร้อมเพย์ หรือชำระเงินด้วย QR Code เพื่อลดความเสี่ยงและการ
สัมผัสธนบัตร
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ห่วง
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เรื้อรังมายาวนาน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อรายได้
และความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน และยิ่งทำให้ปัญหานี้ท้าทายมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบเบ็ดเสร็จ
รัฐบาลจึงเดินหน้าใน 3 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย 1.การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน 2.การกำกับดูแลเจ้าหนี้ให้ปล่อยสินเชื่ออย่าง
รับผิดชอบและเป็นธรรม 3.การปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน
  • คณะอนุกรรมการด้านโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับโลกด้านความปลอดภัยของวัคซีนประจำ
องค์การอนามัยโลก (WHO Global Advisory Committee on Vaccine Safety - GACVS) ระบุในแถลงการณ์ที่เปิดเผยเมื่อวัน
ศุกร์ว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญของ WHO เชื่อว่า ประโยชน์ของวัคซีนชนิด mRNA ในการป้องกันโรคโควิด-19 นั้น มีมากกว่าความเสี่ยงที่จะทำ
ให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ที่ประชุมกลุ่ม G20 ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศมหาอำนาจได้สนับสนุนให้มี
การจัดเก็บภาษีนิติบุคลทั่วโลกขั้นต่ำ 15% รวมทั้งกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะบังคับใช้ เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติ ด้วยเป้า
หมายที่จะสรุปแผนการณ์ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ให้กับระบบการจัดเก็บภาษีในระดับสากล

ทั้งนี้ บรรดารัฐมนตรีและผู้ว่าธนาคารกลางกลุ่มประเทศ G20 ยอมรับว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้นดีขึ้นในขณะที่มีการฉีดวัคซีน และมีการสนับสนุนด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เตือนด้วยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์และการเข้าถึงวัคซีนที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ถือเป็น "ความเสี่ยงช่วงขาลง"

  • รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุม G20 ที่เมืองเวนิซ ประเทศอิตาลีว่า รู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่ง
เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-10 ที่มีการกลายพันธุ์ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ภายหลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่
ระบาด
  • นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าว
แถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ,
อัตราเงินเฟ้อ, ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
  • ประธานบริษัท Guggenheim Investments ที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนของสหรัฐเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับ
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีเมื่อวันศุกร์ (9 ก.ค.) ว่า ไม่มีเหตุผลที่นักลงทุนจะเข้าซื้อบิตคอยน์ในขณะนี้ และตัวเขาเองก็จะไม่รีบซื้อด้วยเช่นกัน
ขณะที่ราคาบิตคอยน์เข้าสู่ขาลงครั้งใหญ่ซึ่งอาจฉุดราคาลงต่ำถึง 10,000 ดอลลาร์

การแถลงของนายพาวเวลในสัปดาห์นี้ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเขาอาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย และการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากที่รายงานการประชุมของเฟด ประจำเดือนมิ.ย.ระบุว่า กรรมการเฟดได้เริ่มหารือกันเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการปรับลดวงเงิน QE พร้อมกับส่งสัญญาณ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 ซึ่งเร็วกว่าเดิมถึง 1 ปี และเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปีดังกล่าว

  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจแนวโน้มภาคธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟีย ผลสำรวจกิจกรรมภาค
การผลิตของนิวยอร์กเดือนก.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม
เดือนมิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ