ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.66 อ่อนค่าเกาะกลุ่มค่าเงินในตลาดโลก ตลาดรอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 15, 2021 17:49 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าอยู่ที่ 32.61 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.67 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวไม่กว้างมากที่ประมาณ 7 สตางค์ และยังคงเกาะกลุ่มไปกับทิศทางค่าเงินในตลาดโลก ส่วนปัจจัยในประเทศยังคงเป็นแรงกดดันจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.60 - 32.75 บาท/ดอลลาร์ ตลาดจับตาดูการ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คืนนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.76 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.83/109.87 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1842 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1830/1.1837 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,572.01 จุด เพิ่มขึ้น 2.31 จุด (+0.15%) มูลค่าการซื้อขาย 83,261 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,674 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการ
พิจารณาแนวทางการให้วัคซีนสลับชนิด หลังจากผ่านการพิจารณาอย่างรอบแล้วจากที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้ พ.ร.บ.โรค
ติดต่อแห่งชาติ ตลอดจนคณะกรรมการในระดับต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
  • ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในเวทีเสวนา Restart เศรษฐกิจไทยฝ่าภัยโควิด "เปิดแผน..เดิน
หน้าเศรษฐกิจไทย"ว่า แม้ว่าการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศภายใต้ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 64 มาถึง
ปัจจุบัน ครบ 14 วัน ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี แต่ยอมรับว่ากังวลการฉีดวัคซีนที่ยังมีความล่าช้า ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศชะลอตัว
หลังคนไทยยังไม่มั่นใจในสถานการณ์โควิดหลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูง จึงต้องเดินหน้าสร้างความมั่นใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างต่อเนื่อง
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-
19 ที่กระทบไปยังภาคอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาการ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่นๆ ส่งผลให้การ
ผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมทำได้ไม่เต็มที่ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบกับตัวเลขการส่งออกที่อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
  • สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) ออกมาตรการเร่งด่วน พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และ
รายย่อยเป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ตั้งแต่งวดก.ค.-ส.ค.64 ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งลูกหนี้และนายจ้างในสถานประกอบ
การในพื้นที่ควบคุม และนอกพื้นที่ควบคุมที่ต้องปิดกิจการจากคำสั่งล็อกดาวน์
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 ลดลงมาเหลืออขยายตัว 1% จากเดิมที่ 1.8% เนื่องจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด จึงมีความจำ
เป็นต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และมีผลกระทบต่อเนื่อง
ไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐคาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพ
ที่จำเป็นของประชาชน แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม
  • ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 64 ลงเหลือ 2.2% จาก
เดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน มี.ค.ที่ระดับ 3.4% เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะได้รับผลกระทบอย่างหนักต่อไปอีกจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ธนาคารโลก ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยกเว้นจีน ลงเหลือ 4%
ในปี 2564 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.4% โดยคาดว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากวิกฤตการณ์การเมือง
ภายในประเทศ
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจใน 12 เขตของสหรัฐหรือ Beige Book โดยระบุว่า
เศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายเดือนพ.ค.จนถึงต้นเดือนก.ค.ปีนี้ แม้ภาวะเศรษฐกิจได้รับแรงกดดันจากภาวะเงิน
เฟ้อ อันเนื่องมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภค
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยที่ประชุมจะประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิด

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และจะพิจารณาการใช้นโยบายจัดหาเงินกู้เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถรับมือกับภาวะโลกร้อน


แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ