(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.95 อ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน จับตาการประชุมกนง.-ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 2, 2021 11:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.95 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 32.86 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่า สะท้อนการปิดรับความเสี่ยงของนักลงทุนในตลาดโลก โดยการเข้าถือครองสกุลเงินที่ปลอดภัยอย่างสกุลเงิน ดอลลาร์

"วันนี้ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากตลาดยังคงรอการประเมินผลของมาตรการควบคุมโรค"
นักบริหารเงิน กล่าว

ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย และช่วงปลายสัปดาห์ต้องติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ส่วนปัจจัยต่างประเทศต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.90-33.05 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (30 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.27625% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.29409%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.95500 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.68 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 109.50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1863 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1900 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.894 บาท/ดอลลาร์
  • ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มจากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด
พร้อมปรับมาตรการจำหน่ายอาหารในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้สามารถเปิดได้ แต่ให้ขายเฉพาะเดลิเวอร์รี่เท่านั้น
ทั้งนี้ มาตรการส่วนใหญ่ยังคงข้อกำหนดตามฉบับที่ 28 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.64 และจะประเมินผลอีกครั้งในวันที่ 18 ส.
ค.
  • เอกชนเผยโรงงานเร่งใช้ "บับเบิล แอนด์ซีล" สกัดโควิดเข้าโรงงาน จี้รัฐเร่งหาวัคซีนฉีด สรท.ห่วง ส่งออก 4 กลุ่มใช้
แรงงานมาก "ไก่-ยานยนต์-อิเล็กฯ-เสื้อผ้า" เลื่อนส่งมอบไตรมาส 3 ธปท.ห่วงกระทบภาคการผลิตมากขึ้น "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้ ส.ค.จุด
ชี้ชะตาอนาคตส่งออกปีนี้ หวั่นคุมไม่อยู่กดจีพีดีโตต่ำ 1%
  • กนอ.เผยประชุมร่วมเจโทร นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นลงทุนในประเทศไทย แม้โควิด-19 ระบาดกระทบการขนส่งทำ
ชิ้นส่วนขาดแคลน สนใจพันธมิตรไทยผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงาน มองเป็นโอกาสผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการลงทุนและจ้างงานเพิ่ม
  • รายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สำนักงบประมาณได้รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่
ทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐจึงเป็นส่วนสำคัญ
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐซึ่งมีการก่อหนี้สูงกว่าเป้าหมายอย่างมากและเพื่อให้การเบิกจ่ายและจัดสรรงบ
ประมาณในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ (ก.ค.-ก.ย.) มีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำข้อเสนอ 3 ข้อให้หน่วยงานราชการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
  • ธุรกิจการบินอ่วมหนัก "ไทยแอร์เอเชีย" ประกาศหยุดกิจการชั่วคราว-ไม่จ่ายเงินเดือนพนักงาน 1 เดือน ด้านการ บิน
ไทยโละขายที่ดินย่านทำเลทอง หลังเงินสดขาดมือไม่พอเปิดบินใหม่
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน
ตามที่ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำนั้น ซึ่งพยายามจะให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด "รัฐบาลไม่ได้นิ่ง
นอนใจ แต่ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ"
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. นี้ กนง. จะ
พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของโค
วิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งส่งผลให้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มควบคุมได้ยากขึ้น คาดว่าภาครัฐจึงจำเป็นต้องต่อ
อายุมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงาน และมีผลกระทบต่อเนื่อง
ไปยังกำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ดังนั้น มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจำเป็นในการ
ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่ไปกับมาตรการทางการคลังที่ออกมาเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะยัง
คงมุ่งเน้นการใช้มาตรการที่ตรงจุดเพื่อช่วยลดภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและครัวเรือน
  • "กมธ." พิจารณางบฯจบแล้ว! เผยปรับลดงบฯ ลงทั้งสิ้น 16,362 ล้านบาท "ยุทธพงศ์" เสนอแปรญัตติลดงบฯ ทัพเรือ
5 พันล้าน เตรียมอภิปรายงบฯ วาระ 2-3 พร้อมจองกฐินซักฟอก "บิ๊กตู่" แย้ม "3 ป.-อนุทิน" เตรียมตัวขึ้นเขียง ขณะ
ที่ "โฆษกกลาโหม"วอนหยุดลือ "รัฐประหาร" ชี้อย่าซ้ำเติมประเทศ บอกไม่ใช่ง่าย
  • ฝ่ายค้านเร่งยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนพิจารณางบประมาณ ดักทาง นายกฯ ยุบสภาหนีเพราะกระแสต้านรัฐบาลรุนแรง
  • ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า หากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นตามระดับข้างต้น จำนวนผู้ติดเชื้อ
ยืนยันผลสะสมทั่วโลกจะพุ่งสูงเกิน 200 ล้านราย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวด
อาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ดีดตัวขึ้น 3.5% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบ
รายปี ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2534 อย่างไรก็ดี ดัชนี PCE พื้นฐานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่
ระดับ 3.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.7% หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนพ.ค. และรายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์
คาดไว้ว่าอาจลดลง 0.2%
  • มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 81.2 ในเดือนก.ค. ซึ่ง
เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. จากระดับ 85.5 ในเดือนมิ.ย. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 80.8
  • กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ มีกำหนดการประชุมทางไกลกับรัฐมนตรีต่าง
ประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในสัปดาห์หน้า
  • ธนาคารกลางจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า ธนาคารกลางจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่รอบคอบ ยืดหยุ่น และมีเป้าหมายใน
ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากจีนพยายามที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ทำการควบคุมเศรษฐกิจที่พึ่งพาระบบดิจิทัล
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค.จากมา

ร์กิต , ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.ค.จากมาร์กิต, จำนวนผู้ขอ

รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนมิ.ย. และ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. เป็น

ต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ