ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.43 อ่อนค่าต่อเนื่องจากปัจจัยใน-ตปท. คาดกรอบวันนี้ 33.35 - 33.50

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 9, 2021 08:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.43 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.37 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก หลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลข เศรษฐกิจออกมาดีเกินคาด ทั้งตัวเลขการว่างงานและการจ้างงานนอกภาคเกษตร

ขณะที่มีปัจจัยในประเทศเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ที่กดดันต่อค่าเงินบาท นอกจากนี้ยังต้องจับตาทิศทางของเงินทุนต่าง ประเทศจากผู้นำเข้าทองคำหลังราคาร่วงลงมามาก

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องแต่ยังอยู่ในช่วง 3 ปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนทั้งต่างประเทศจากดอลลาร์แข็งค่าและในประเทศจาก สถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.35 - 33.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (6 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.29032% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.25514%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.27 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 109.80 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1748 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1808 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.358 บาท/ดอลลาร์
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ค่าเงินบาทเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 3 ปี ที่ 33.39 บาทต่อ
ดอลลาร์ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าท่ามกลางสัญญาณเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในประเทศ ที่มี
ผลกระทบต่อเนื่องไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และปีหน้า โดยในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. 2564 เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.34 บาทต่อ
ดอลลาร์ เทียบกับระดับ 32.87 บาทต่อดอลลาร์
  • "อีไอซี" ลุ้นคุมโควิดได้ ไตรมาส 3 คาดเงินบาทสิ้นปีอ่อน 32.50-33 บาท ต่อดอลลาร์ แต่หากขั้นเลวร้าย ค่าบาทอาจ
อ่อนยาวถึงสิ้นปีหลุด 33 บาท ยันไม่กระทบเศรษฐกิจ เชื่อ ธปท.คุมได้ "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้บาทมีสิทธิอ่อนแตะ 34 บาทหากโควิด ลาก
ยาวถึงไตรมาส 4 "ทีทีบี" ระบุหากเฟดส่งสัญญาณลดคิวอี บาทอ่อนค่าต่อถึงปีหน้าแน่ ด้าน "ดอลลาร์" ยังแข็งค่าขานรับข้อมูลจ้างงาน
สหรัฐแข็งแกร่ง
  • นักวิชาการ คาดเงินบาทอาจอ่อนค่าทะลุระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มี
แนวโน้มอาจติดลบในปีนี้ โดยในไตรมาสแรกปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลแล้ว 2.6 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าในไตรมาส 2 และ
3 จะยังคงขาดดุลต่อเนื่อง ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลลดลง คาดว่าปีนี้ดุลบัญชีเงินทุนมีเงินไหลออกสุทธิไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านดอลลาร์ โดยมี
ทั้งการไหลออกของเงินลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน ปีที่แล้วเงินทุนไหลออกสุทธิประมาณ -3.59 พันล้าน
ดอลลาร์ อัตราการค้าปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากราคานำเข้าสินค้าเพิ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออก
  • "ศบศ." เผยมาตรการช่วยค่าครองชีพต่อเนื่องช่วย ปชช. แม้บางพื้นที่ล็อกดาวน์ แจงยอดใช้จ่ายคนละครึ่งยิ่งใช้ยิ่งได้-
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยศก.ในประเทศหมุนเวียนกว่า 5.8 หมื่นล้าน คาด ต.ค. เชื่อมแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ใช้ "คนละครึ่ง" ได้
  • "ดุสิตโพล" เผยโควิดทำท่องเที่ยววิกฤติหนัก "ปชช." หมดหวังรัฐโกยเงินท่องเที่ยว 8.5 แสนล้าน จี้รัฐเร่งคุมระบาด-
ฟื้นความเชื่อมั่น
  • "เกียรตินาคินภัทร" เตือนเศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดลบ 2 ปีต่อเนื่อง หลังโควิดรุนแรงกว่าคาด ล็อกดาวน์ 3 เดือนไม่พอ
กระทบจีดีพีปี 64 หดตัว 0.8% "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" หวั่นกระทบเป้าหมายเปิดรับนักท่องเที่ยว ใน 120 วัน "ทีดีอาร์ไอ" คาดครึ่งปีหลัง
ชะลอตัว "คลัง" ยันไม่ขยายเพดานหนี้ คงไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี
  • ศุลกากรจีนเปิดเผยข้อมูลในวันนี้บ่งชี้ว่า ยอดส่งออกของจีนในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 19.3% เมื่อเทียบรายปี และยอดนำเข้า
เพิ่มขึ้น 28.1% อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกและนำเข้าของจีนชะลอตัวลงจากเดือนมิ.ย.ซึ่งเพิ่มขึ้น 32.2% และ 36.7% ตามลำดับ
  • วุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 67 ต่อ 27 เดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้าน
ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปสู่การผ่านความเห็นชอบในขั้นสุดท้าย
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่
นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.

ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.7% หลังจากแตะ ระดับ 5.9% ในเดือนมิ.ย.

  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจาก
พุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดขายในภาคค้าส่งพุ่งขึ้น 2.0% ในเดือนมิ.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ค. และเจ้าของ
ธุรกิจจะใช้เวลา 1.22 เดือนในการขายสินค้าจนหมดสต็อก ลดลงจากระดับ 1.23 เดือนในเดือนพ.ค.
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้า-ส่งออกเดือนก.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. (เบื้องต้น) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมิ.ย.
และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • บรรดานักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมของผู้นำเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิงในวันที่ 26-28 ส.ค.นี้ เพื่อ

หารือด้านนโยบายการเงินและกำหนดกลยุทธ์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ