ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.45 อ่อนค่าจากช่วงเช้า กังวลศก.หลังสภาพัฒน์ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 64

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 16, 2021 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 33.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.32 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19 ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.32 - 33.36 บาท/ดอลลาร์ โดยเป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค

"ตัวเลขจีดีพีไตรมาสสองที่สภาพัฒน์แถลงออกมาดีเกินคาด แต่ตลาดไม่ตอบรับ อาจมาจากความกังวลต่อผลกระทบในช่วงไตร มาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 และมีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.40 - 33.50 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งมีโอกาสที่เงิน บาทจะอ่อนค่าขึ้นไปทดสอบที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์อีกครั้ง

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.35 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.48 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1782 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1795 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,531.24 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด, +0.19% มูลค่าการซื้อขาย 77,166.69 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,676.04 ล้านบาท(SET+MAI)
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ในไตรมาส 2/64 ขยาย
ตัว 7.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/63 และขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64

พร้อมปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 64 ลงมาเป็นขยายตัว 0.7-1.2% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 1% จากประมาณการ เดิมคาดว่าจะเติบโต 1.5-2.5% โดยมีสมมติฐานว่าการแพร่ระบาดภายในประเทศผ่านพ้นจุดสูงสุดในช่วงไตรมาส 3/64 และสามารถผ่อน คลายมาตรการควบคุมในหลายพื้นที่ได้มากขึ้น ขณะที่การแพร่ระบาดในต่างประเทศไม่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

  • ผู้ว่าการ ธปท.แนะรัฐบาลกู้เงินเพิ่มเติมอีกราว 1 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาใช้พยุงเศรษฐกิจ แม้คาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่ม
ขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ 70% ของ GDP ในปี 67 แต่จะลดลงได้ค่อนข้างเร็วตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และความสามารถในการจัดเก็บ
รายได้ของรัฐบาลที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากฐานภาษีจะไม่ได้ลดลงจากแผลเป็นของเศรษฐกิจมากนัก
  • ผู้ว่าการ ธปท.เผยการดูแลค่าเงินบาทใช้นโยบาย Flexible Inflation Targeting ซึ่งไม่มีระดับอัตราแลกเปลี่ยน
อยู่ในใจว่าจะต้องดูแลให้เงินบาทอยู่ในระดับใด สิ่งสำคัญคือ ธปท.จะดูแลไม่ให้เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
ธุรกิจ รวมทั้งดูแลไม่ให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน โดยจะดูแลค่าเงินบาทให้สะท้อนกับปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติให้ทุกพื้นที่คงระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรในมาตรการ
เดิมตั้งแต่วันที่ 18-31 ส.ค.64 โดยเฉพาะมาตรการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเช้มงวด (สีแดงเข้ม) ที่จะจำกัดการเดินทาง และ
ห้ามออกจากเคหะสถานหลังเวลา 21.00 น.พร้อมให้ปรับมาตรการในพื้นที่สีแดงเข้มให้สามารถเปิดกิจการธนาคารและสถาบันการเงินใน
ห้างสรรพสินค้าได้
  • ศบค. เห็นชอบแนวทางการเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวจากจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) เดินทางเชื่อมต่อจังหวัดนำ
ร่องอื่น เริ่มจาก สุราษฎรธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) กระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง ไร่เล) และ พังงา (เขาหลัก เกาะ
ยาวน้อย เกาะยาวใหญ่) ภายใต้มาตรการ 7+7 คือ หลัง 7 วันแรกตรวจไม่พบเชื้อ สามารถเดินทางไปยังอีก 3 จังหวัดดังกล่าวเพื่อพัก
อยู่อีก 7 วัน ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.64
  • ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวให้สัมภาษณ์ในหัวข้อ "มุมมอง ธนินท์ เจียรวนนท์ โควิดกับทางออกของ
ประเทศไทย"ว่า เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อของประเทศไทย ซึ่งวิกฤตโควิดเป็นเหมือนสงครามโลก (โรค) ครั้งที่ 3 ก็ว่าได้ เพราะทุกประเทศ
ในโลกได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่หากประเทศใดปรับตัวได้ ก็จะก้าวกระโดด แต่หากประเทศไทยขาดนโยบายที่มีความพร้อม และมีการ
เปลี่ยนแปลงไม่เร็วพอ ก็จะตกขบวน ตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ยก 4 ประเด็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) ปากท้อง 2)
ป้องกัน 3) รักษา 4) อนาคต
  • พรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ได้แก่ 1.พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม 2.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข 3.นายสุชาติ ชมกลิ่น รม
ว.แรงงาน 4.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม 5.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ 6.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 6 แสนล้านหยวน (ราว 9.264 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะ
กลาง (MLF) โดยโครงการดังกล่าวมีอายุการไถ่ถอนในระยะเวลา 1 ปี และกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 2.95% โดยธนาคาร
กลางจีนได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16
  • โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผยเศรษฐกิจจีนยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของไวรัสโควิด-
19 รวมทั้งภัยพิบัติน้ำท่วม นอกจากนี้การที่รัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายเมือง
ยังได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจภาคบริการของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการเดินทางและโรงแรม
  • ฟิทช์ โซลูชันส์ คันทรี ริสก์ แอนด์ อินดัสทรี รีเสิร์ช ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย
ในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ของมาเลเซียในปีนี้เป็นศูนย์ จากระดับ 4.9% ก่อนหน้านี้ ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นจากการแพร่
ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ