ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.97 แข็งค่ากว่าภูมิภาคหลังมีแรงขายดอลลาร์ ตลาดรอติดตามประชุมประจำปีของเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2021 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.97 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 33.27 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้บาทเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับภูมิภาคแต่ปรับตัวแข็งค่ามากสุด โดยบาทระหว่างวัน เคลื่อนไหวผันผวน และแกว่งในกรอบกว้าง จากแรงขายดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงเช้า ซึ่งหลังจากหลุด 33.20 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลให้ นักลงทุนตัดขาดทุนทริกเกอร์ Stop-loss order ส่งผลให้บาทลงมาอย่างรวดเร็ว ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.94 - 33.30 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทผันผวนระหว่างวัน และแกว่งในกรอบกว้างมากที่ 0.36 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้แตะระดับที่ 32.94 บาท/ ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ก่อนวันที่ 3 ส.ค. หรือก่อนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด" นัก บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทของวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.90 - 33.10 บาท/ดอลลาร์

โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การประชุมประจำปี Jackson Hole ของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันศุกร์นี้ และต้องติดตาม สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงและคงที่

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.66 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1733 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1739 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,586.98 จุด เพิ่มขึ้น 4.91 จุด, +0.31% มูลค่าการซื้อขาย 100,708.84 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,286 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า บริษัท Moody?s Investors Service (Moody?s)
ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อ
ถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
  • รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การ
กลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (โควิด-19) ส่งผลให้การแพร่ระบาดมีความไม่แน่นอนสูง และมีแนวโน้มยืดเยื้อและผันผวนกว่าที่คาด
กระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงขึ้น แต่ละภาคเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวช้าออกไปและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ระยะสั้นแบบเดิม
เช่น การพักชำระหนี้เป็นครั้งคราว หรือปรับโครงสร้างหนี้แบบระยะสั้น จึงไม่ตอบโจทย์ที่จะทำให้ทุกฝ่ายผ่านวิกฤตนี้ไปได้

ธปท.และสมาคมธนาคารไทย มีความเห็นร่วมกันในการผลักดันมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่าง ยั่งยืนในระยะยาว โดยให้สอดคล้องกับคาดการณ์รายได้ของลูกหนี้ เช่น ในช่วงที่รายได้ของลูกหนี้ยังไม่กลับมา และอาจต้องใช้เวลานานใน การฟื้นตัว ภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ก็ควรอยู่ในระยะต่ำ แล้วค่อย ๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป แต่ไม่ใช่การเลื่อนหรือพักชำระหนี้ เป็นการชั่วคราว ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือเป็นไปตามแถลงข่าว ธปท. เรื่อง มาตรการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผล กระทบจากโควิด-19 ได้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา

  • ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ตามที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ยืนยันว่าจะส่งมอบวัคซีนให้กับไทยได้ครบ 61
ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคมนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี และส่งจะผลดีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศไทย เพราะภายในสิ้นปี
นี้ ประเทศไทยจะมีจำนวนวัคซีนทุกประเภทรวมกันแล้วเกินกว่า 120 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่
ตั้งเป้าว่าจะจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดส สำหรับประชากร 50 ล้านคน และหากเร่งฉีดได้ครบตามจำนวนวัคซีนที่มีดังกล่าว ก็จะเป็นการ
สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้คล่อง
ตัวมากยิ่งขึ้น
  • ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ระบุว่า มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว มาตรการรักษา
ระดับการจ้างงาน มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน มาตรการลดค่าใช้จ่าย
สำหรับภาคธุรกิจ และมาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน นับเป็น 6 มาตรการที่มีความสำคัญและนโยบายที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันอาจยังไม่เพียงพอ

โดยทั้ง 6 มาตรการมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะช่วยให้ศักยภาพการเติบโต ทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25% จากช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 อยู่ที่ 3.5% และเทียบกับ 3% หากไม่มีมาตรการ

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการขยายเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เหลือ 7% ต่อไป
อีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย.66 จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.64 โดยการขยายเวลาลดอัตราภาษีดังกล่าวนี้ จะ
ไม่ส่งผลกระทบกับประมาณการรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2565 และ 2566 แต่อย่างใด
  • รมว.คลัง กล่าวว่า นอกจากมาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เสนอ ครม. พิจารณาในวันนี้
กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรได้ดำเนินมาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ไปพร้อมกัน
  • -สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวมากกว่าระดับคาดการณ์ในไตร
มาส 2 ของปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการใช้จ่ายภาครัฐ หลังรัฐบาลเยอรมนีผ่อนคลายมาตรการต่างๆในการ
ควบคุมโควิด-19

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ