ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.73 แข็งค่านำสกุลภูมิภาค มองกรอบพรุ่งนี้ 32.65-32.85

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 25, 2021 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.73 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เช้าที่เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.95/97 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค ในขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคเป็นแบบผสม คือมีทั้งอ่อนค่า และแข็งค่า โดยระหว่างวันบาทเคลื่อนไหวผันผวน และแกว่งในกรอบกว้างในกรอบ 32.69-33.00 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้จากการที่เงินบาทปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักลงทุนตัดขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของนักลงทุนที่เก็งว่าบาทอ่อน ค่าก่อนหน้านี้ ได้มีการปรับพอร์ตขายดอลลาร์ฯ และซื้อบาท

ส่วนปัจจัยพื้นฐานยังเป็นสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง และปรับตัวดีขึ้น และอาจผ่านพ้นจุดที่เลว ร้ายมากที่สุดไปแล้ว โดยปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค. ของสหรัฐฯ

"วันนี้บาทผันผวน และแกว่งในกรอบกว้างที่ 30 สตางค์ โดยวันนี้แตะระดับที่ 32.69 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่ามากที่สุด ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.64" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทของวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.79 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 109.80/82 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1738/1742 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,600.49 จุด เพิ่มขึ้น 13.51 จุด (+0.85%) มูลค่าการซื้อขาย 92,934 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,649.80 ลบ. (SET+MAI)
  • รมว.คลัง เผย แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตถึง 7.5% ในไตรมาส 2/64 แต่สภาพการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจก็ยังคงไม่
แข็งแกร่งนัก จากสถานการณ์โควิด-19 โดยที่อัตราการเติบโตเทียบระหว่าง 2 ไตรมาสนับตั้งแต่ต้นปีนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% ซึ่งการ
ระบาดระลอกที่ 2 และ 3 ส่งผลให้การฟื้นตัวอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้
  • รมว.คลัง ชี้สถานภาพทางด้านการเงินของไทยยังแข็งแกร่ง แม้รัฐบาลมีโครงการกู้ยืมเงินในจำนวนที่สูง แต่สัดส่วนของหนี้
สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยอยู่ที่ 56.1% และคาดว่าสัดส่วนหนี้ต่อ GDP นี้จะอยู่ต่ำกว่า 60% ใน
ปลายปีงบประมาณนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการคลังที่มีประสิทธิภาพ และการมีวินัยการคลัง
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานไทยแลนด์โฟกัส 2021 ว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรง ทำให้การฟื้นตัวค่อนข้างช้าและยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากการ
ท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถกลับมาตามที่คาดไว้ได้ ทำให้ภาคบริการยังไม่ฟื้นตัว แม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวกลับมาในระดับก่อนเกิดการแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
  • สภาพัฒน์ เผย หนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/64 เพิ่มขึ้น 4.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าหนี้อยู่ที่ 14.13 ล้านล้าน
บาท คิดเป็นสัดส่วน 90.5% ต่อจีดีพี โดยหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาจากหนี้ส่วนบุคคล และหนี้บัตรเครดิตที่ขยายตัวในอัตราเร่ง
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยลงมาติดลบ -0.5% จากการที่
การบริโภคในประเทศเกิดการชะลอตัวลงอย่างมาก และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่หยุดชะงักไปกว่า 1-2 เดือนจากมาตรการล็อก
ดาวน์กระทบต่อ GDP ไทยอย่างมีนัยสำคัญ และภาคบริการของไทยมีดุลบริการที่หดตัวลงมา หลังจากการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นกลับมา
ได้เร็ว ทำให้รายได้จากภาคท่องเที่ยวหายไป และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับประมาณการลงเหลือ 200,000 คน จากเดิมที่คาดว่าจะมีนัก
ท่องเที่ยวเข้ามา 250,000 คน ประกอบกับค่าขนส่งต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วกลับมาฟื้นตัว ทำให้ส่งผล
กดดันทำให้ GDP ของไทยหดตัว
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เผย GDP ไตรมาส 2 ขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่ขยายตัวได้ดีเกิน
คาดนั้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการอุปโภคบริโภค และการใช้จ่ายด้านทุนของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้น หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อัน
เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • หนึ่งในกรรมการบริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตือนว่า แนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากการ
แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบล่าสุด อย่างไรก็ดี นายนากามูระคาดหวังว่า การอุปโภคบริโภคจะฟื้นตัวขึ้นเมื่อภาคครัวเรือนเริ่มรู้สึก
ปลอดภัยในการออกมาจับจ่ายใช้สอย
  • บรรดานักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากการ
แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาได้ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ต้องกลับไปใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาด โดย
คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 1.2% ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.4% และยังคงคาดว่าเศรษฐกิจไทยมี
แนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราต่ำที่สุดต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ