ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.34/36 อ่อนค่าจากช่วงเช้าแกว่งตามแรงซื้อขาย ไร้ปัจจัยหนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 1, 2021 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.34/36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.24/25 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้อ่อนค่าจากช่วงเช้า ทั้งนี้ไม่ได้มีปัจจัยใดกดดันเป็นพิเศษ แต่คาดว่าเป็นการรีบาวด์หลังจากที่ได้แข็งค่าไปในช่วง ที่ผ่านมา โดยเงินบาทระหว่างวันผันผวนบ้าง เพราะมีธุรกรรมเข้ามาค่อนข้างมาก

"บาทอ่อนค่า น่าจะเป็นการรีบาวด์เพราะก่อนหน้านี้ก็แข็งค่า ขณะที่ US index ก็แข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย ช่วงนี้ยังไม่ได้มีปัจจัย อะไรพิเศษ เป็นแรงซื้อขายของวัน" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20 - 32.50 บาท/ดอลลาร์ โดยเป็นไปตามแรงซื้อขายที่ เข้ามาในระหว่างวัน

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.26/30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.19/20 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1819/1823 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1802/1803 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,634.48 จุด ลดลง 4.27 จุด (-0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 117,678 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 923.29 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)
ของไทยในปี 64 เป็น -0.5 ถึง 1.0% ดีขึ้นจากเดิมที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะติดลบราว -1.5 ถึงไม่เติบโต หรือ ขยายตัวเป็น
0% เนื่องจากมองว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเริ่มดีขึ้น และรัฐบาลคาดว่าจะจัดหาวัคซีนได้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นผลดีต่อ
เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้
  • รมว.ท่องเที่ยวฯ เผยไทม์ไลน์การเปิดประเทศระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไปนั้น จะเปิดเพิ่มอีก 5 จังหวัด คือ
กรุงเทพฯ ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ จากนั้นในระยะที่ 3 จะเปิดเพิ่มอีก 21 จังหวัด และระยะที่ 4 คาดว่าจะเริ่ม
ในต้นปีหน้า โดยเปิดการท่องเที่ยวแบบ Bubble กับประเทศเพื่อนบ้าน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 64 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ปรับลดลงจากระดับ
41.4 มาอยู่ที่ 40.0 จากการปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยความเชื่อมั่นที่ลดลงมาจากความเชื่อมั่นของภาคการผลิตเป็นสำคัญ นำ
โดยกลุ่มผลิตยานยนต์และกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ความเชื่อมั่นปรับลดลงเกือบทุกด้าน รวมถึงกลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ความ
เชื่อมั่นด้านการผลิตปรับลดลงมาก ส่วนหนึ่งจากปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ยังไม่คลี่คลาย และการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในโรงงาน
ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการผลิตและต้นทุน
  • นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่มีแนวคิดปรับคณะรัฐมนตรีและยุบสภาในขณะนี้ พร้อมยืนยันว่าจะอยู่ครบเทอมกับพรรคร่วมรัฐบาล
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แสดงความเห็นว่า BOJ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้อัตรา
เงินเฟ้อพุ่งขึ้นก็ตาม การแสดงความเห็นดังกล่าวตอกย้ำกระแสคาดการณ์ที่ว่า BOJ จะยังไม่ปรับเปลี่ยนโยบายการเงินในช่วงวิกฤตการณ์
เช่นนี้ แม้ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ได้เริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันแล้วก็ตาม
  • กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือโอเปกพลัส ปรับเพิ่มคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในปี

2565 ขึ้นสู่ระดับ 4.2 ล้านบาร์เรล/วัน ท่ามกลางการเรียกร้องของสหรัฐฯ ที่ให้โอเปกพลัสผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทาง

เศรษฐกิจ และสกัดราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ