ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.78 อ่อนค่าจากช่วงเช้าตามภูมิภาคหลังเงินไหลออก-ตลาดรอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 8, 2021 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.78 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.68 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามภูมิภาคและทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ จากความกังวลเรื่องปัจจัยเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก วันนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรไทยประมาณ 1,600 ล้านบาท ระหว่างวันเงิน บาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.67 - 32.84 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ยูโรลงมาแรง ฉุดสกุลเงินอื่นๆ ลงมาเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าเป็นการลดการถือครองยูโรก่อนการ ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.85 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้อง ติดตาม คือ บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในค่ำวันพฤหัสที่ 9 ก.ย.นี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.23 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.26 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1815 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1845 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,640.45 จุด เพิ่มขึ้น 4.00 จุด, +0.24% มูลค่าการซื้อขาย 89,924.67 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 7,527.18 ล้านบาท(SET+MAI)
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.64 อยู่ที่ระดับ 76.8
ปรับตัวลดลงจากระดับ 78.9 ในเดือน ก.ค.64 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 16
เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.63 โดยเป็นการปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคและทุกขนาดอุตสาหกรรม
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ร่วมกับ 3 สถานบันการเงิน คือ ธนาคารไทย
พาณิชย์ (SCB), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เตรียมวงเงิน
รวมกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือสมาชิกฯ และผู้ประกอบการ SMEs ในซัพพลายเชนภาคอุตสาหกรรม ในรูปแบบของ Supply
Chain Financing โดยจะสามารถช่วยเหลือสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรมผ่านบริการด้านการเงิน
ของทั้ง 3 ธนาคารได้มากกว่า 10,000 ราย
  • นายกรัฐมนตรี กำชับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดให้ครอบ
คลุมทุกกลุ่มอย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ทบทวนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่งเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์โดยตรง
มากที่สุด
  • รมว.อุตสาหกรรม เผยสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 7 เดือนแรกปี 2564 พลิกกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น
หลังจากหดตัวลงในปีก่อน โดยการผลิตที่วัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เพิ่มขึ้น 2.9% โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการที่ภาค
ธุรกิจใช้มาตรการ Bubble and Seal เพื่อควบคุมความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดในโรงงาน ทำให้โรงงานส่วนใหญ่สามารถเดิน
สายการผลิตได้ตามปกติ
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่า เฟดควรเดินหน้าแผนการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขนานใหญ่ที่เคยประกาศใช้เพื่อเยียวยาผลกระทบโควิด-19 แม้ตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.ชะลอตัวลงก็ตาม
  • หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดการณ์ว่า ECB อาจคุมเข้มนโยบายการ
เงินในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเกิดขึ้นยาวนาน
  • กระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเข้าร่วมประชุมกับผู้นำจากบราซิล รัสเซีย อินเดีย
และแอฟริกาใต้ ในระหว่างการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 13 ในวันพรุ่งนี้ (9 ก.ย.) ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ยืนยันว่า จีนจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง และจะไม่กระตุ้น
เศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ นโยบายการเงินที่จีนใช้ในปัจจุบันนี้ ยังคงมีวงเงินที่ค่อนข้างสูง
  • นักวิเคราะห์ของบริษัทโนมูระคาดการณ์ว่า PBOC จะยังไม่ใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน และ PBOC มีแนวโน้มที่จะปรับ
ลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่ PBOC ได้ปรับลด
RRR ในช่วงกลางเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวน 1 ล้านล้านหยวน (6.47 แสนล้านดอลลาร์)
ในระยะยาว
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลในวันนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ขยายตัว
1.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 1.3% ในการรายงานครั้งแรก

เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.5% ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นการปรับ ตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ