ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.71 แข็งค่าจากเช้า จับตาผลประชุม ECB คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.65-32.80

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 9, 2021 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.71 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.78 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้า เป็นไปตามแรงซื้อแรงขายทั่วไป ทิศทางตลาดโลกและภูมิภาค ส่วนใหญ่ตลาดรอดูผลประชุม ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คืนนี้ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.68 - 32.79 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทปิดแข็งค่าจากช่วงเช้า ระหว่างวันเคลื่อนไหวไม่กว้างมากอยู่ที่ประมาณ 11 สตางค์ เป็นไปตาม flow ทั่วไปของผู้ ส่งออก และนำเข้า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.88 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.18 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1829 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1812 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,629.12 จุด ลดลง 11.33 จุด, -0.69% มูลค่าการซื้อขาย 91,098.61 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,395.52 ล้านบาท(SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี ระบุเดินหน้าทำงานต่อไป โดยไม่มีแนวคิดที่จะปรับ ครม. หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ร.
อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พ้นจากตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง รมช.แรงงาน ตั้งแต่บัดนี้
เป็นต้นไป
  • นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ระบุแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศยังมี
อัตราที่สูง แต่มีการทยอยฉีดวัคซีนมากขึ้น และมีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับประชาชนได้ตามเป้าหมายที่ 50 ล้านคน
ในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องดูแลการแพร่ระบาดและหามาตรการป้องกันซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีมาตรการต่างๆ
ออกมา และเชื่อว่าหลังจากนี้สถานการณ์จะดีขึ้น
  • โฆษกรัฐบาล เผยแนวทางการขับเคลื่อนแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์
โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็น 4 ระยะ หลังจากทดลองนำร่องระยะที่ 1 ในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือน ส.ค.64
ปรับตัวลดลงมาที่ 39.6 จากระดับ 40.9 ในเดือน ก.ค.64 โดยดัชนีฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค.41 เป็นต้นมา
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือน ส.ค.64 อยู่ที่ระดับ 19.8 ลดลง
จากระดับ 20.7 ในเดือน ก.ค.64 เป็นการปรับตัวลดลงในทุกภาค โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ต่ำสุดในรอบ 32 เดือน นับตั้งแต่
ทำการสำรวจมาตั้งแต่เดือน ม.ค.62
  • กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้แตกต่างจากวิกฤติ
หลายครั้งก่อนหน้า โดยเฉพาะตลาดทุนไทยฟื้นตัวค่อนข้างหลากหลาย ทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ค่อนข้างน้อย
และฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจภาคการส่งออก ธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจพลังงาน ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจ
อุปโภคบริโภค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการเงิน ก็ยังฟื้นตัวกลับไปไม่เท่ากับช่วงต้นปี 63 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19
  • ประธานกรรมการหอการค้าไทย แนะภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อรองรับการเปิดประเทศ โดยหวังภาวะ
เศรษฐกิจในปี 65 จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทายมาก โดยขยายตัวได้ 6-8%
  • สภาผู้ส่งออก ประสานทางการสหรัฐหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยเฉพาะกรณีที่มีการปรับอัตรา
ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ปัญหาการขาดแคลนระวางเรือขนส่งสินค้าในเส้นทางการ
ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ตามที่ FMC และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้รับมอบหมายจากนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดี
สหรัฐให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการนำเข้าและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา
  • ประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งญี่ปุ่นและประธานบริษัทโตโยต้า เผยปัญหาการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้การ
ดำเนินงานของซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์ต้องหยุดชะงักลง ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นต้องปรับลดกำลังการผลิตลงอีกครั้ง
ในเดือน ต.ค.
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เผยรายงานนโยบายการเงินระบุ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยชะลออัตรา
การขยายตัวของหนี้สินในภาคครัวเรือน พร้อมกับย้ำว่า BOK จะยังคงใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินต่อไป เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันด้าน
เงินเฟ้อ
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 0.8% ในเดือน ส.ค.เมื่อเทียบเป็นราย

ปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือน ก.ค.ที่มีการขยายตัว 1% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะปรับตัวขึ้น 1%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ