นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.41 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 33.19 บาท/ดอลลาร์
โดยเช้านี้บาทเปิดอ่อนค่า จากการที่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เนื่องจากตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะทยอยถอนมาตรการ QE ภายในปีนี้ นอกจากนี้ตลาดยังกังวล และติดตามเรื่องการแก้ปัญหาหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ของ บริษัท ไชน่า เอ เวอร์แกรนด์ กรุ๊ป เป็นหลัก
"ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้มระหว่างวัน เงินบาทน่าจะอ่อนค่า จากความกังวลเรื่องเฟด ทยอยถอนมาตรการ QE และเรื่องบริษัท ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ด้านภูมิภาคเป็นแบบบสลับทั้งอ่อนค่า และแข็งค่า" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.35-33.50 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ผลการเลือกตั้งของประเทศเยอรมนี
THAI BAHT FIX 3M (23 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.33717% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.32201%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.43750 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.68 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 109.95 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1723 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันพฤหัสบดีที่ระดับ 1.1723 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.498 บาท/ดอลลาร์
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการกลับมาเปิดกิจการร้านอาหาร รวมถึงร้านค้าต่างๆ ตาม
- สถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศเริ่มดีขึ้น โดยวันนี้ ศบค.รายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นต่ำสุดใน
- นักลงทุนรอดูการประชุม ศบค.ชุดใหญ่วันนี้ ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการให้กับกิจกรรม หรือกิจการใดเพิ่มเติม
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (24 ก.ย.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (24 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการที่จีนทำการกวาดล้างธุรกิจที่
- ราคาบิตคอยน์ฟื้นตัวในช่วงเช้านี้ โดยราคาดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 44,000 ดอลลาร์ หลังจากที่ทรุดตัวลงอย่างหนักเมื่อวัน
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2564, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI), ภาคการผลิตเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือน
ก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เป็นต้น