ภาวะตลาดเงินบาท: บาทเย็นนี้ 33.85 แข็งค่าจากเช้า มีโอกาสผันผวน คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.70-34.00

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 29, 2021 16:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 33.89 บาท/ดอลลาร์

โดยเงินบาทอ่อนค่าในช่วงเช้า และเริ่มกลับมาแข็งค่าเล็กน้อยในช่วงบ่าย เป็นไปตามทิศทางดอลลาร์ในตลาดโลก สำหรับผล การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ส่งผลจำกัดต่อค่าเงินบาท ด้านการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคเป็นแบบผสมทั้ง อ่อนค่า และแข็งค่า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.77-33.90 บาท/ดอลลาร์

"บาทอ่อนค่าในช่วงเช้า แต่พอไปแตะที่ระดับ 33.90 บาท/ดอลลาร์ ก็เริ่มย่อลงมาเรื่อยๆ ทั้งนี้ ยังเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุด ในรอบ 4 ปีอยู่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.70 - 34.00 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดว่าจะ เคลื่อนไหวในกรอบกว้าง และผันผวน ปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงนี้ คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ

  • THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.8125 บาท/ดอลลาร์
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.26 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 111.56 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1671 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1680 ดอลลาร์/ยูโร
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในอีก 1-2 เดือนนี้ รัฐบาลจะมีการออกมาตรการเสริม เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการใช้จ่ายให้ภาค
ประชาชน และธุรกิจเอสเอ็มอี เบื้องต้นคาดว่ามาตรการจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปีใหม่ด้วย
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดย กนง.ยังคงให้
น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และจะติดตามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ พัฒนาการของ
มาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ ความเพียงพอของมาตรการการคลัง และมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ โดยพร้อมใช้เครื่องมือ
นโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น
  • กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 64 และปี 65 จะขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อน (มิ.ย.64) ที่
0.7% ในปีนี้ และ 3.9% ในปี 65 แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยคาดว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไป จะได้รับผลบวกจากการกระจายวัคซีน
ที่ปรับดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด และเชื่อว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ส.ค.64 พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณชะลอตัว
ลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณชะลอตัวลง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
  • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนส.ค.64 อยู่ที่ระดับ 87.71 หด
ตัว -4.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการในเดือนส.
ค.64 เริ่มส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม
  • บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ และไบออนเทค เอสอีได้ยื่นข้อมูลการทดลองทางคลินิกขั้นต้นสำหรับการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี และระบุว่า บริษัทจะยื่นขออนุมัติอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ เพื่อใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน
ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
  • กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เปิดเผยรายงาน "2021 World Oil Outlook" โดยระบุว่า ความต้องการใช้
น้ำมันทั่วโลกจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกในปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน
แตะที่ระดับ 101.6 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home
sales) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2564
(ประมาณการครั้งสุดท้าย), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนส.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.
ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเดือนก.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ