ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 33.85 ระหว่างวันผันผวนก่อนกลับมาแข็งค่าหลังมีแรงขายดอลลาร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 30, 2021 16:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 33.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาดเมื่อ เช้าอยู่ที่ระดับ 33.95 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน อ่อนค่าในช่วงเช้าตามสกุลเงินดอลลาร์ และ เริ่มกลับมาแข็งค่าในช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่ามาจากแรงขายดอลลาร์ในช่วงปลายเดือน โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.75- 33.95 บาท/ดอลลาร์

"บาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนถึง 20 สตางค์ อ่อนค่าในช่วงเช้า แต่พอไปแตะที่ระดับ 33.90 บาท/ดอลลาร์ ก็ย่อตัวลง มาตามแรงขายดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.75-33.95 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้อง ติดตามคืนนี้ คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ รวมทั้งในช่วงนี้ยังคงต้องติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.7935 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.92 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 111.89 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1600 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1602 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในเดือนส.ค. 64 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังลดลง โดยได้รับผล
กระทบอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวและส่งผลให้การส่ง
ออกของไทยแผ่วลง ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากปัญหา supply disruption ทั้งการแพร่ระบาดในโรง
งาน และการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตแลตู้คอนเทนเนอร์

ขณะที่ ธปท.คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ย.มีแนวโน้มปรับดีขึ้นบ้างจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังผ่อนคลาย มาตรการควบคุมการระบาด อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัญหา supply disruption รวมถึงการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจคู่ค้าหลังอัตราการฉีดวัคซีนทยอยเพิ่มขึ้น

  • ธปท.ได้ศึกษาและเตรียมการใช้เงินสกุลดิจิทัล (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) ซึ่งจะออกโดย
ธปท. เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับประชาชนในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ นอกเหนือไปจากการใช้ธนบัตร และเงิน
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(ศบศ.) มีมติเห็นชอบ หลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริม
และรักษาระดับการจ้างงานสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มธุรกิจ และเห็นชอบหลักการแนวทางการขับเคลื่อนการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยว
ตามนโยบายของรัฐ โดยการขยายผลและพลิกโฉมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก รวมทั้งแนวทางการ
จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการพลิกโฉมการท่องเที่ยวไทย และการประกาศส่งเสริมท่องเที่ยว 2565 Amazing ยิ่งกว่า
เดิม (Visit Thailand 2022 Now Even More Amazing Thailand Has It All)
  • รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีการขยายเพดานหนี้สาธารณะของประเทศไทย เพิ่มเป็น 70% ต่อจีดีพี จากเดิมที่ 60% ต่อจีดีพี
ว่า ปี 2563-2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างมาก เงินงบประมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอเพื่อใช้ดูแลช่วยเหลือ เยียว
ยา และฟื้นฟูประชาชนและภาคเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกู้เงิน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ
การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน 2 ปี รวมกันที่ 1.5 ล้านล้านบาท และมีการประเมินว่าการกู้เงินดังกล่าวจะทำให้ยอด
หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว
  • ผลสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ "ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?" โดยผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วน
ใหญ่เห็นด้วยกับแผนเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ และขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการ
ผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้นและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาค
รัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อ
เสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน รวมทั้งขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจบันเทิงเปิดบริการได้ พร้อมแนะภาค
เอกชนเร่งปรับรูปแบบการดำนินธุรกิจให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 5.5% ในไตรมาสที่
2 ซึ่งสูงกว่าระดับคาดการณ์เบื้องต้นที่ 4.8%
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า BOJ จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อ
ไป แม้ว่าอีกไม่นานเศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องอยู่ภายใต้การบริหารของนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ตาม เนื่องจาก BOJ เล็งเห็นว่า
การผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่
อันดับ 2 ของจีนลงสู่ระดับ C จากระดับ CC ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เอเวอร์แกรนด์มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ