ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.76/78 แข็งค่าตามสกุลเงินภูมิภาค คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.70-33.90

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 7, 2021 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.76/78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 33.83 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.70-33.85 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปิดแข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค หลังจากยุโรปเปิดตลาด สกุลเงินดอลลาร์เริ่มปรับตัวอ่อนค่า จากแรงซื้อขายทำ กำไรทั่วไป โดยตลาดรอติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย. ของสหรัฐฯ ในวันพรุ่งนี้เป็นหลัก

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.70-33.90 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คืนนี้ คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.46/49 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 111.42 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1556/59 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1554 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,633.72 จุด เพิ่มขึ้น 14.24 จุด (+0.88%) มูลค่าการซื้อขาย 100,950 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,339.39 ลบ.(SET+MAI)
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่
80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากก่อนหน้านี้ที่เคยอยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากถึงเท่าตัว ส่งผลกระทบต่อต้น
ทุนของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาระรายจ่ายด้านสาธารณูปโภคของประชาชนและผู้ประกอบการจะปรับขึ้นตามด้วย

ดังนั้น จึงแนะนำให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐบาลให้ลดลง แต่ หากไม่มีความช่วยเหลือก็จะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการส่งออก และค่าเงินบาท เพราะการที่เงินบาท อ่อนค่าเร็วเกินไปก็จะไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมของประเทศแน่นอน

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย.64 อยู่ที่ 41.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 39.6 ในเดือนส.ค.64 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรก
ในรอบ 7 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น หลังจาก ศบค.เริ่มผ่อนคลายมาตรการ ประกอบกับยอดผู้ป่วยโควิดเริ่มลด
ลง และการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในประเทศทำได้มากขึ้น
  • ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ย.64 (TCC-CI) อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดลงจากระดับ 19.8 ในเดือนส.ค. โดย
ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงทุกภาค และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากภาคธุรกิจกังวลผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เพราะทำ
ให้เพิ่มต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง ตลอดจนการเข้าไม่ถึงสินเชื่อ และปัญหาโควิดที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้กำลังซื้อของประชาชนซึมตัวต่อ
เนื่อง
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ชี้ เศรษฐกิจไทยปีนี้ มีโอกาสเติบโตได้ 1-1.5% ถ้ารัฐบาลมี
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่หากไม่สามารถทำได้ และปัญหาน้ำ
ท่วมยังไม่คลี่คลาย การเปิดประเทศไม่สามารถทำได้ต่อเนื่อง เศรษฐกิจปีนี้อาจเหลือแค่ 0-1% ซึ่งจะมีการประเมินสถานการณ์อีก
ครั้งใน พ.ย.
  • ตลาดตราสารหนี้ไทยในไตรมาส 3/64 ขยายตัวได้ราว 5% แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 โดยมีมูลค่าคงค้าง
รวมเท่ากับ 14.9 ล้านลบ. การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวม 817,556 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น 54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่เสนอขายสูงสุด 5 กลุ่มแรก ได้แก่ Energy (20.6%), PROP (15.1%),
FIN (13.6%), Commerce (12.8%) และ FOOD (11.8%)
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับลดการประเมินภาวะเศรษฐกิจ 5 ใน 9 ภูมิภาคของญี่ปุ่นในวันนี้ โดยระบุถึงผลกระทบจาก
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิต

รายงานการประเมินภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นรายไตรมาส (Sakura Report) ซึ่ง BOJ เผยแพร่ในวันนี้ระบุว่า BOJ ได้คงการ ประเมินภาวะเศรษฐกิจใน 4 ภูมิภาค ซึ่งรวมถึงกรุงโตเกียว พร้อมระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ แม้เริ่มฟื้นตัวบาง ส่วนก็ตาม

  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้
จ่ายของผู้บริโภค จะเริ่มปรับตัวขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากต้นทุนพลังงานดีดตัวขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลกกำลังลุกลามไป
ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านเงินฝืดมาเป็นเวลานาน
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐและจีนได้บรรลุข้อตกลงในหลักการที่จะจัดการประชุมทางออนไลน์ระหว่าง

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนภายในสิ้นปีนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ