นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วม ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 64 ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ 0.5-1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะ ขยายตัว 0.0-1.0% เนื่องจากนโยบายเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.64 และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของ ผู้ประกอบการและประชาชน ช่วยหนุนเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปี
ส่วนการส่งออก ยังคงคาดว่ามีแนวโน้มจะขยายตัวราว 12-14% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0-1.2% ซึ่งมอง ว่าตัวเลขนี้อยู่ในเงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดซ้ำเพิ่มเติมของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ของ กกร. %YoY ปี 2563 (ตัวเลขจริง) ปี 2564 (ณ ต.ค. 64) ปี 2564 (ณ พ.ย 64) GDP -6.1 0.0 - 1.0 0.5 - 1.5 ส่งออก -6.0 12 - 14 12 - 14 เงินเฟ้อ -0.85 1.0 - 1.2 1.0 - 1.2
ประธาน กกร. กล่าวว่า การเปิดประเทศช่วยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว โดยคาดการณ์อัตราการเข้าพักที่ผู้ประกอบ การโรงแรมมองว่าจะขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 25% ในเดือน พ.ย.64 เทียบกับ 15% ในเดือน ก.ย.64 ขณะที่มีการจับจ่ายใช้สอยในภูมิภาคดีขึ้น ส่วนภาคการค้าปลีกมองว่าผ่านจุดต่ำสุดที่ไตรมาส 3 มาแล้ว สอดคล้องกับมองของนักธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยที่เชื่อมั่นในการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ทำให้คาดการณ์ว่าภาพเศรษฐกิจในช่วงปลายปีจะมีความคึกคักมากขึ้น พร้อมๆ กับมาตรการ สนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศของภาครัฐ อาทิ โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยภาคเอกชนหวังว่าภาครัฐจะเสริม ด้วยมาตรการช้อปดีมีคืนให้เป็นแรงส่งเศรษฐกิจในปลายปีนี้กลับมาคึกคักมากขึ้นและต่อเนื่องไปยังปีหน้า
"โอกาสที่จะมีการล็อกดาวน์อีกคงน้อย ถ้าทุกภาคส่วนร่วมมือกันปฏิบัติตจามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด" นาย
หากภาครัฐพิจารณาผ่อนคลายและโปรโมตกิจกรรม เทศกาล ทั้งงานลอยกระทง และงานปีใหม่ได้ ก็จะเป็นตัวเสริมให้ บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้นักเดินทางทั้งในและต่างประเทศ โดยย้ำว่าต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการ แพร่ระบาด
ขณะที่ภาคการผลิตของไทยยังสามารถเติบโตได้ แต่เผชิญปัญหาอุปทานตึงตัวเช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ปัญหาอุปทาน ตึงตัวส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ทำให้ต้องชะลอการผลิตและไม่สามารถผลิตสินค้าได้มากเท่ากับที่ตลาดต้องการ และส่งผลให้ ราคาสินค้าทั้งต้นน้ำและปลายน้ำปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยดัชนีราคาผู้ผลิตสูง ขึ้นราว 5% เทียบกับปีก่อนหน้า โดยผู้ส่งออกยังต้องเผชิญกับต้นทุนค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์และการขาดแคลนตู้ส่ง สินค้า จึงต้องติดตามภาวะต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร.ยังได้หารือกันในเรื่องการอำนวยความสะดวกสำหรับนักเดินทาง ทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และ นักลงทุนที่เข้าออกประเทศไทย โดยภาครัฐควรเร่งเจรจาให้มีมาตรการลดหย่อน ตอนขากลับประเทศปลายทางด้วย เพื่อจะได้ไม่โดนการ กักตัวและมีค่าใช้จ่ายที่สูงเมื่อเดินทางกลับ รวมถึงมีการสื่อสารข้อมูลที่อัพเดทและถูกต้องให้นักเดินทางด้วย ซึ่งจะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยว ในปีหน้ากลับมาฟื้นตัวได้
ส่วนการเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ โดยความคืบหน้าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของประเทศไทย ทางภาคเอกชนได้ส่งผลการศึกษาให้ทางภาครัฐและภาคประชาสังคมไปแล้ว เพื่อเร่งให้เข้า ร่วมเจรจา CPTPP เพราะหากช้าก็จะทำให้เสียโอกาส พร้อมกับต้องเพิ่มการเจรจาตามเงื่อนไขของประเทศที่จะเข้ามาเพิ่มเติมด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องหารือร่วมกันทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกประเทศร่วมกัน
รวมถึงการเตรียมความพร้อมของการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีหน้า ที่ทางภาครัฐจะใช้ Biocircular Green Economy (BCG) เป็นหัวข้อในการหารือภายใต้ Theme "Open Connect Balance" ซึ่งภาคเอกชนก็เห็นถึงความสำคัญประเด็นนี้ และพร้อมที่จะ ร่วมจัดงานกับภาครัฐด้วย โครงการภาคเอกชนจัดงานภายใต้ Theme "Embrace Engage Enable"
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า หากสามารถเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้เต็มรูปแบบ และมีมาตรการ ป้องกันการแพร่ระบาดที่รัดกุม จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดอาการสะดุด ดังนั้นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของภาครัฐควรให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ขณะที่สัดส่วนการให้บริการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นน่าจะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลาย ถึงแม้ยังคงมี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ แต่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลง
"กรมควบคุมโรคบอกว่าผู้ที่เสียชีวิต 98% ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ตอนนี้มีการฉีดวัคซีนมากขึ้น สถานการณ์น่าจะดีขึ้น อยากให้ เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วที่สุด ถ้าจะกระตุ้นก็ต้องทำให้เต็มที่ อย่าให้คุ้นชินว่าถ้ามีปัญหาก็จะมีการเยียวยาอีก" นายสุพันธุ์ กล่าว
ส่วนผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น นายสุพันธุ์ กล่าวว่า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต้นน้ำสูงขึ้น ได้แก่ เหล็ก ปูน กระดาษ เพราะต้องใช้พลังงานมากในการผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้าง ขณะที่มีผลกระทบโดยตรงในเรื่องค่าขนส่ง ซึ่งหากราคา พลังงานยังทรงตัวในระดับสูงเป็นเวลานานก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรับราคาสินค้า และหากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นก็จะส่งผลกระทบไม่มาก
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ภาครัฐต้องสร้างขึ้น ได้แก่ บรรยากาศและความเชื่อมั่น ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรควรให้เกิดความต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาเอกชนเกิดการสะดุดมา 3 รอบแล้ว ขณะ เดียวกันพยายามใช้กลไกต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี เช่น การปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน