รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 64 มีมติเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ โดยมีเอกสารที่จะมีการรับรอง จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่
- ร่างแนวทางการดำเนินงานสาหรับการพัฒนาการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืนในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน
- ร่างชุดเครื่องมือสาหรับการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านการขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน
- ร่างปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน
- ร่างแนวปฏิบัติอาเขียน-ญี่ปุ่น ในการตรวจประเมินมาตรฐานการบริหาร
- ร่างรายงานผลการศึกษาการทดสอบระบบสาธิตการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกน้าหนักเกินด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ร่างแผนปฏิบัติการ ปี 2564-2568 ของแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ฉบับปรับปรุง เป็นร่างแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2564-2568 ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการฉบับที่ 2 (ฉบับที่ 1 ปี 2561-2563) มีโครงการความร่วมมือสำคัญระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีนบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างภูมิภาคภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน (KLTSP) และข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) โครงการความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน (2) โครงการความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำ (3) โครงการความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง (4) โครงการความร่วมมือด้านฐานข้อมูล และ (5) โครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลงฉบัง เฟส 3 (ท่าเรือ F) และโครงการความร่วมมือการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง
นอกจากนี้ มีเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนาม จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (การลงนามในลักษณะเวียน (ad-referendum) ภายหลังการประชุมฯ) เป็นเอกสารเพื่อยื่นเปิดตลาดการให้บริการคลังสินค้า (Cargo Handling Service) ในท่าอากาศยาน 7 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานแม่สอด แบบมีเงื่อนไขว่าอนุญาตให้บุคคลสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% อำนาจบริหารกิจการเป็นของบุคคลสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินอนุญาต