ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.88 อ่อนค่า หลังดอลลาร์แข็งค่ารับเงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งหนุนเฟดขึ้นดบ.

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 11, 2021 09:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.88 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.75 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐออกมา สูงเกินกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้เกิดความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น และอัตราดอกเบี้ย พันธบัตรของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น

"บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงเกินคาด ต้องจับตาดูวันนี้ยังมีโฟล์ วต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรอีกหรือไม่ หลังเงื่อนไขเปลี่ยนไป" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.75 - 33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยรอดูผลพวงจาก ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ

THAI BAHT FIM 3M (10 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.30468% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.34882%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.94 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 113.18/21 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1484 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1578/1581 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.765 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่าเดิมไปจนสิ้นปี 2565
หลังแถลงการณ์จากการประชุมเมื่อวานนี้บ่งบอกถึงสัญญาณเชิงบวกอย่างระมัดระวังที่ไม่ได้เห็นกันมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว โดยมองว่า
ความเสี่ยงด้านต่ำที่ส่งผลต่อการคาดการณ์ด้านการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นลดลง
  • บล.เมย์แบงก์ฯ ชี้ ต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 3 เดือนติด 3.5 หมื่นล้าน ตอบรับโควิดผ่านจุดพีค-เปิดประเทศ-เงินบาทแข็ง
คาดทั้งปีพลิกซื้อสุทธิ จากปัจจุบันขายสุทธิ สะสม 5.7 หมื่นล้าน "บล.ยูโอบีฯ" คาด "เอ็มเอสซีไอ" เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย หนุนฟันด์โฟลว์ไหล
เข้า
  • รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมและผลตอบรับหลังการ
เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา บรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้น อัตรา
การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเฉลี่ย 2,000-3,000 คน/วัน นักท่องเที่ยวจากสหรัฐมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาได้แก่
เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน ผ่านการตลาดและการประชา
สัมพันธ์ถึงความพร้อมและมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นขยายกรอบการก่อหนี้ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการ
คลัง มาตรา 28 ที่กำหนดกรอบหนี้รวมไว้ไม่เกิน 30% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพราะต้องพิจารณาว่ายังมีช่องว่างตาม
กรอบงบประมาณ เหลือมากน้อยเพียงใด เพราะมีโครงการที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้มีการใช้จ่ายแต่ละโครงการเป็นอย่างไร มีเงิน
เหลือมากน้อยที่ต้องนำเงินที่เหลือส่งคืน เมื่อสามารถนำเงินส่งคืนได้ ก็จะทำให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียน ทำให้วงเงินตามกรอบก่อหนี้ลดลง
จึงต้องขอดูส่วนนี้ก่อน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่ง
ขึ้น 6.2% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2533 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.9%
จากระดับ 5.4% ในเดือนก.ย.
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 267,000 รายใน
สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ จากระดับ
271,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะลงนามบังคับใช้กฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(Bipartisan Infrastructure Framework - BIF) มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ในวันจันทร์หน้า (15 พ.ย.) โดยพิธีลงนามใน
วันดังกล่าวจะมีสมาชิกสภาคองเกรสที่ช่วยร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าร่วมด้วย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (10 พ.ย.)
โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า การพุ่งขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดวงเงินใน
โครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (10 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะ
สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุน
เวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ