ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.72 ติดตามยอดค้าปลีกต.ค.สหรัฐฯ คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.65-32.85

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 15, 2021 17:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า เล็กน้อยจากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 32.70 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวไปตามแรงซื้อแรงขายทั่วไป โดยระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ ถึงแม้การรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 3/64 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะออกมาดีกว่าที่คาด แต่ผลต่อค่าเงินยังมี จำกัด

ส่วนค่าเงินในภูมิภาควันนี้เป็นแบบผสม มีทั้งอ่อนค่าและแข็งค่า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65 - 32.75 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.85 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ ต้องติดตามช่วงนี้ คือ ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ส่วนพรุ่งนี้ ต้องติดตามยอดค้าปลีกเดือน ต.ค.ของสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.88 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 113.89 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1449 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1450 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,638.73 จุด เพิ่มขึ้น 4.79 จุด (+0.29%) มูลค่าการซื้อขาย 69,470 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 354.95 ลบ. (SET+MAI)
  • สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาสที่ 3/64 ลดลง 0.3% จากที่ขยายตัว 7.6% ในไตรมาสที่ 2/64 เป็นผลมาจากวิกฤติ
โรคโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทบต่อทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของ
ประชาชน พร้อมคาดทั้งปี 64 GDP ขยายตัว 1.2%
  • สภาพัฒน์ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 65 จะขยายตัวได้ในช่วง 3.5-4.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ 0.9-1.9%
การส่งออก ขยายตัว 4.9% โดยในปี 65 เศรษฐกิจไทยจะมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่สำคัญ คือ ภาคการส่งออก การบริโภคใน
ประเทศ และภาคการท่องเที่ยวที่จะเข้ามาช่วยเสริมภาคเศรษฐกิจไทยในปีหน้า
  • รมว.คลัง คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 จะเติบโตได้ 4% โดยภาคการส่งออกที่ยังมีขีดความสามารถสูง จะเป็น
กำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีหน้า รวมทั้งยังมีเม็ดเงินใช้จ่ายจากภาครัฐ ที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีก 3.7 ล้านล้าน
บาท ขณะเดียวกัน ในปี 65 ก็จะเริ่มเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่อเนื่อง
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนีแอโพลิส คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวขึ้นอย่างต่อ
เนื่องในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า พร้อมแนะว่า คณะกรรมการเฟดไม่ควรมีปฏิกริยาต่อเงินเฟ้อมากเกินไป เนื่องจากเชื่อว่าการพุ่งขึ้น
ของอัตราเงินเฟ้อ เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะปรับขึ้นสู่ระดับ 1%
เนื่องจากอุปสงค์มีแนวโน้มแซงหน้าอุปทานในช่วงกลางปีหน้า ทั้งนี้ BOJ จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษต่อไป เนื่องจาก
ไม่คิดว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมาย 2%
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ระบุว่า อัตราว่างงานในพื้นที่เขตเมืองของจีนอยู่ที่ 4.9% ในเดือนต.ค. ซึ่งปรับ
ตัวลง 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรก จีนสามารถสร้างงานใหม่ได้ถึง 11.33 ล้านตำแหน่งใน
พื้นที่เขตเมืองของประเทศ ซึ่งถือว่ารัฐบาลจีนสามารถบรรลุเป้าหมายของยอดการสร้างงานใหม่ตลอดปีนี้ได้เร็วกว่ากำหนด
  • นักลงทุนจับตาการประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐฯ กับจีน เพื่อประเมินทิศทางความสัมพันธ์ด้านการค้า และประเด็นอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในยุโรป ซึ่งอาจนำไปสู่การควบ
คุมกิจกรรมด้านต่างๆ อีกครั้ง
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่จะเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิต (Empire State

Manufacturing Index) เดือนพ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนต.ค., การผลิต

ภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง

งานรายสัปดาห์ และดัชนีการผลิตเดือนพ.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ