ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.55 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.40-32.70

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 18, 2021 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.65 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า แต่ระหว่างวันเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ 32.55-32.63 บาท/ดอลลาร์ เหตุที่ช่วงนี้บาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง เป็นเพราะดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากการกดดันของเงินปอนด์ หลังจากตลาดคาดการณ์ว่าธนาคาร อังกฤษ (BoE) มีโอกาสจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

สำหรับช่วงนี้ ยังไม่มีปัจจัยเด่นๆ ที่จะมีผลต่อทิศทางเงินบาทมากนัก ตลาดรอปัจจัยใหม่ที่จะเข้ามา

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40 - 32.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.18 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 114.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1330 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1319 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,651.02 จุด เพิ่มขึ้น 6.42 จุด (+0.39%) มูลค่าการซื้อขาย 76,538 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 755.39 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทย
ในปี 64 ไว้ที่ 1.5% (กรอบ 1.3-1.7%) โดยเชื่อว่าจากผลของมาตรการเปิดเมือง จะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย
ราว 2 แสนคน และเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะช่วยหนุน GDP ให้เพิ่มขึ้น 0.83% ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดการณ์
ว่า GDP จะขยายตัวได้ 4.2%
  • นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศขณะนี้มียอดขอ
รับการส่งเสริมการลงทุนดีขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว 2 เท่า เป็นการแสดงถึงความมั่นใจของภาคเอกชน ที่เห็นถึงทิศทางและความพร้อมไม่เพียง
แค่ในช่วงโควิด ที่รัฐบาลดูแลและสามารถสร้างการผลิตต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี มีทิศทางที่รัฐบาลจะเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในเรื่องของการ
สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อุตสาหกรรมดิจิทัล และสนับสนุนการลดก๊าชเรือนกระจกต่างๆ ที่มีทิศทางชัดเจน
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "Looking Beyond Covid-19 : โจทย์ที่
ท้าทายของเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด 19" ว่า ประเทศไทยไทยจำเป็นต้องเร่งยกระดับเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจไทยคง
ต้องโตแบบไทย เน้นด้านที่ไทยมีศักยภาพในการต่อยอด โดยเอาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์มาเป็นจุดแข็ง ไทยมีความพร้อมทางด้านทุนวัฒนธรรมที่
สะสมอยู่มากและมีความหลากหลายสูง ทั้งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และศิลปหัตถกรรม ซึ่งสามารถนำมาต่อยอด เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทาง
เศรษฐกิจได้ บางเรื่องอาจดูจากประสบการณ์ต่างประเทศ
  • ความคืบหน้าของวัคซีน ChulaCov-19 ชนิด mRNA โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กำลังจะเข้าสู่การทดสอบเฟส 3 ซึ่งขณะ
นี้ได้มีการผลิตวัคซีนในประเทศไทยบรรจุขวด และรอตรวจประกันคุณภาพ โดยหากเป็นไปตามแผน จะสามารถเปิดรับอาสาสมัครประมาณ
ก่อนสิ้นปี 64 เริ่มฉีดวัคซีนช่วงต้นปี 65 ถึงประมาณเดือนมี.ค. 65 มีการวิเคราะห์ข้อมูลช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 65 และจะมีการรวบรวม
ข้อมูล เพื่อส่งเอกสารขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉินกับองค์การอาหารและยา (อย.) ประมาณช่วงกลางปีต่อไป
  • กรรมการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เปิดเผยว่า ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ และตลาดการเงินของอังกฤษต่างก็เชื่อมั่น
ว่า BoE จะสามารถทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% แม้รายงานล่าสุดระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุด
ในรอบ 10 ปีก็ตาม
  • ญี่ปุ่นเตรียมจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 55.7 ล้านล้านเยน (4.88 แสนล้าน
ดอลลาร์) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มาตรการดังกล่าว ซึ่งรวมเงินอุดหนุนสำหรับภาคเอกชนด้วยจะอยู่ที่ 78.9
ล้านล้านเยน โดยคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติในวันพรุ่งนี้ (19 พ.ย.)
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกกล่าวย้ำว่า เฟดจะดำเนินการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตาม

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปจนถึงช่วงกลางปี 2565 ขณะที่เฟดจะต้องตรวจสอบว่าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงจะชะลอตัวลงตามที่

เขาคาดไว้หรือไม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ