นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.37 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่อง จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.32 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐออก มาดีเกินคาด และแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งจบเรื่องมาตรการ QE และปรับขึ้นดอกเบี้ย
"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก หลังมีปัจจัยหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่า ช่วงนี้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก" นักบริหาร
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.25 - 33.50 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (24 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.23104% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.27552%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.34500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 115.38 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 5 ปี จากเย็นวานที่ระดับ 115.08 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1210 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1221 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.292 บาท/ดอลลาร์
- "อาคม" ยันใช้นโยบายคลังแบบไม่สุดโต่ง หลังรัฐลุยกู้ 1.5 ล้านล้านบาท ประคองเศรษฐกิจ ด้าน "แบงก์ชาติ" ห่วง
- แบงก์พาเหรดปรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้โตขยับ กรอบ 0.7-1.2% ปีหน้า 3.2-3.7% เหตุแรงส่งเยอะ ทั้งการบริโภค
- อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ยังส่งผลกระทบโดยรวมต่อสภาวะเศรษฐกิจ
- กบง.มีมติลดราคาน้ำมัน "ดีเซล" ลงเหลือลิตรละ 28 บาท ปรับสูตรเหลือแค่บี 7 ชนิดเดียว อุ้มผู้ใช้ 4 เดือนดีเดย์ 1
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) โดยระบุว่า กรรมการเฟดมี
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงช้อนซื้อเก็งกำไรหลังสัญญาทองคำร่วงลง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.)
นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐอาจเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2564 ของสหรัฐขยายตัว 2.1% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้ง แรกที่ระดับ 2.0%
- ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 71,000 ราย สู่ระดับ 199,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด
นับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2512 ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น
5.0% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2533