นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.88 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ 33.71/74 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทปิดอ่อนค่า เช่นเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะรีบคุม เข้มนโยบาย ทั้งเร่งลด QE และเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ส่วนเรื่องโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ยังเป็นปัจจัยที่กดดันตลาด โดย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.72 - 33.88 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้บาทปิดอยู่ที่ 33.88 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 เดือน โดยเงินบาทเกาะกลุ่มไปกับสกุลเงิน ภูมิภาคส่วนใหญ่ ที่อ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ" นักบริหารการเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.75 - 34.00 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้อง ติดตามคืนนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐ ส่วนพรุ่งนี้ต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เดือน พ.ย.
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.19 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 113.00/06 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1318 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.3280/85 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,591.84 จุด เพิ่มขึ้น 1.03 จุด (+0.06%) มูลค่าการซื้อขาย 67,070 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,633.67 ลบ.(SET+MAI)
- นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะยังไม่ใช้ยาแรงหรือปิดประเทศหลังมีการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ส่วนมาตรา
- รมว.คลัง เผยแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ แต่ไม่อยากให้กังวลเรื่องของเม็ดเงินที่ใช้ในการดูแล
- รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ตอบกระทู้ถามสดเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการท่องเที่ยวภายในประเทศ
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจใน 12 เขตของสหรัฐ (Beige Book) โดยระบุว่า
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอ
- องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า 23 ประเทศ ใน 5 จาก 6 ภูมิภาคทั่วโลก ได้รายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อ
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 1 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบการ
เงิน ผ่านข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.2% ทั้งนี้ PBCO ชี้ว่า การอัดฉีดเงินสดในวันนี้ มี
เป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้มีเสถียรภาพอย่างเหมาะสม