ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.47 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ คาดกรอบบาทต้นสัปดาห์หน้า 33.40-33.60

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 9, 2021 17:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.47 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเปิดตลาดช่วงเช้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 33.39 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทปิดอ่อนค่าจากช่วงเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.37 - 33.47 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ทิศทางเงินบาทมาจากปัจจัยของเงินหยวนที่แข็งค่านำสกุลเงินภูมิภาค ประกอบกับตลาดพันธบัตรไทย มีนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อ สุทธิประมาณ 7,600 ล้านบาท

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันจันทร์ไว้ที่ 33.40 - 33.60 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ ต้องติดตามคืนพรุ่งนี้ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อค่าเงินบาทในช่วงเช้าวันจันทร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.55 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 113.77 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1319 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1335 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,618.23 จุด ลดลง 0.13 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 69,712 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 695.54 ลบ. (SET+MAI)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือน พ.ย.64 อยู่ที่ 44.9 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากปัจจัยบวก
คือ 1. ศบค. ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ รองรับเปิดประเทศ 2. กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% 3. การฉีดวัคซีน
ป้องกันโควิดทำได้มากขึ้น 4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จากภาครัฐ 5. การส่งออกไทยเดือน ต.ค.64 ขยายตัว 17.35%
6. ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น 7.ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลง
  • SCB EIC ปรับลดประมาณการ GDP ของไทยในปี 65 มาอยู่ที่โต 3.2% จากเดิมคาดโต 3.4% หลังจากมองว่า
การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นในช่วงต้นปี โดยในภาพรวม
ของการท่องเที่ยวยังจะเป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน
(พ.ย.64) และ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ราคาสินค้าที่มีแนวโน้มปรับ
สูงขึ้นตามราคาพลังงาน ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปี 64 และปี 65 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการบรรเทาผลกระทบจากเงิน
เฟ้อที่เร่งตัวยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างการร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐ ในการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ หรือโครงการ Smart Financial and Payment
Infrastructure for Business โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมการค้าในรูปแบบดิจิทัลได้อย่าง
ครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดรายงานล่าสุด ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในแอฟริกาใต้ เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า
ตัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายไปทั่ว
ประเทศ
  • สำนักงานอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐ อนุมัติการใช้ยาเอวูเชลด์ (Evusheld) ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
ซึ่งเป็นยาในกลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) ชนิดฉีด เพื่อใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกัน
บกพร่อง
  • สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอ
มิครอนในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเตือนว่าอาจมียอดผู้ติดเชื้อถึง 1 ล้านรายภายในสิ้นเดือนธ.ค.นี้
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพ.ย. 64

เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เนื่องจากมาตรการ

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์และการบริโภคชะลอตัวลง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ