นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 33.61/63 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้า อยู่ที่ระดับ 33.42 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทปิดอ่อนค่า เช่นเดียวกับภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่แข็งค่า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40/42 - 33.61/63 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยระยะสั้นจากในประเทศ คือ ตลาดมีความกังวลเรื่องโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่ล่าสุดพบผู้ ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้นเป็น 63 ราย ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลว่ารัฐบาลอาจมีมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการล็อกดาวน์
ช่วงนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ความรุนแรงของการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในฝั่งยุโรป ที่พบการติดเชื้อโอมิครอนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับรัฐบาลของหลายประเทศเริ่มมีมาตรการที่เข้มงวดมาก ขี้น
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.50 - 33.75 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.50/54 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 113.63 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1249/53 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1242 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,615.80 จุด ลดลง 25.93 จุด (-1.58%) มูลค่าการซื้อขาย 82,358 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,943.26 ลบ.(SET+MAI)
- กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน พ.ย.64 พบว่า การส่งออกขยายตัวได้ 24.7%
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ประชาชนจะมีความต้องการใช้ธนบัตรเพิ่มขึ้น
- รมว.สาธารณสุข เผยเตรียมเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ ยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศแบบ Test & Go ไปก่อน คงเหลือ
- กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ล่าสุด ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2564 สามารถฉีดวัคซีนได้
- เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- นายกรัฐมนตรี สั่งดำเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยให้กระทรวง
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกประจำบริษัท BOC International และอดีตหัวหน้าแผนกดุลการชำระเงินในสังกัด
- รัฐสภาญี่ปุ่นได้อนุมัติงบเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2564 อีก 36 ล้านล้านเยน (3.17 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งสูงเป็น
- ข้อมูลจาก Dealogic ณ วันที่ 16 ธ.ค. ระบุว่า มูลค่าการควบรวมกิจการทั่วโลกพุ่งแตะที่ 5 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นครั้ง
แรกในประวัติศาสตร์ โดยปริมาณการทำสัญญาควบรวมกิจการเพิ่มขึ้น 63% แตะที่ 5.63 ล้านล้านดอลลาร์ ทุบทำลายสถิติเดิมในช่วงก่อน
เกิดวิกฤตทางการเงินที่ 4.42 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2550