ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.14/16 ตลาดเงียบ-ไร้ปัจจัยใหม่ จับตาสถานการณ์ความขัดแย้งยูเครนใกล้ชิด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 21, 2022 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.14/16 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.17 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ตลาดค่อนข้างเงียบ เป็นเพียง flow เงินทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากสหรัฐฯ หยุดทำการใน วันนี้ ดังนั้นในแง่การเคลื่อนไหวของเงินบาทจึงวิ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.09 - 32.16 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้เงินบาทอ่อนค่ากว่าภูมิภาคเล็กน้อย แต่หากดูในระยะยาว บาทถือว่าแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่นๆ ค่อนข้างเยอะ" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.05 - 32.25 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยที่ตลาดจับตาดูช่วงนี้ คือ ความขัดแย้งระหว่างประเทศยูเครนและรัสเซีย

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.86/90 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 115.03 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1362/64 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1329 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,694.32 จุด ลดลง 18.88 จุด (-1.10%) มูลค่าการซื้อขาย 104,944 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,419.31 ลบ.(SET+MAI)
  • สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาส 4/64 ขยายตัว 1.9% เป็นผลจากความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่าง
ชาติ และมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ GDP ปี 64 โต
1.6% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 1.2%
  • สภาพัฒน์ คาดแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวในช่วง 3.5 - 4.5% ซึ่งยังคงประมาณการเดิมของรอบที่แล้ว โดย
มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ
การส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด, แรงกดดันด้านเงิน
เฟ้อ, ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และปัญหาความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์
  • แบงก์ชาติ เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 64 ขยายตัว 6.5% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีความ
เข้มแข็ง มีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โดยคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมค่อนข้างทรงตัวจากปีก่อน ขณะที่ผลประกอบการปรับดีขึ้นจากปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาด
ของโควิด-19
  • ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เผยถึงรายละเอียดของมาตรการคว่ำบาตรที่รัสเซียจะต้องเผชิญหากรุกรานยูเครน
โดยเธอระบุว่า รัสเซียจะโดนตัดขาดจากตลาดการเงินโลกและสินค้าส่งออกสำคัญหลายรายการ
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะเข้าร่วมการประชุมทางไกลร่วมกับประเทศสมาชิกกลุ่ม G7 ที่จัดโดย
เยอรมนีในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อพยายามลดความตึงเครียดในยูเครนซึ่งเสี่ยงถูกรัสเซียบุกโจมตี
  • คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ (FSB) ออกรายงานเตือนว่า วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวด
เร็วของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินโลก เนื่องจากขนาดของตลาดคริปโทฯ รวม
ทั้งความเปราะบางเชิงโครงสร้าง และความเกี่ยวพันต่อระบบการเงินดั้งเดิมที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดคริปโทฯ
  • กูรูด้านบิตคอยน์ของจีน คาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์จะยังไม่เข้าสู่ภาวะตลาดกระทิง จนกว่าจะถึงสิ้นปี 2567 หรือต้นปี
2568 เมื่อประเมินจากวัฏจักรราคาในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากราคาบิตคอยน์ จะพุ่งทะยานขึ้นก็ต่อเมื่อผ่านช่วง Bitcoin Halving ซึ่งจะ
เกิดขึ้นในทุก ๆ 4 ปี ซึ่งล่าสุด ในปี 2564 มูลค่าบิตคอยน์พุ่งขึ้นแตะระดับสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 68,000 ดอลลาร์
  • กระทรวงการคลังรัสเซียเปิดเผยในวันนี้ว่าจะพิจารณาข้อเสนอเรื่องคริปโทเคอร์เรนซีของธนาคารกลางรัสเซีย หากไม่ขัด
แย้งต่อแนวทางของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะปูทางไปสู่การออกกฎหมายกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล
  • ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการขั้นต้นของยูโรโซน อยู่ที่ 55.8
ในเดือนก.พ. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 เดือน เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.3 ในเดือนม.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนปรนมาตรการคุมการ
แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้ภาคการผลิตของเยอรมนีจะแผ่วลงอยู่บ้าง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ