นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.61 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.47 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มภูมิภาค จากผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซียกับยูเครน และราคาน้ำมันที่ปรับตัว สูงขึ้น อย่างไรก็ตามเงินบาทมีปัจจัยหนุนเฉพาะ คือ จีนเริ่มพิจารณาแนวทางยกเลิกนโยบาย Zero Covid ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อการท่อง เที่ยวของไทย โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40 - 32.63 บาท/ดอลลาร์
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีภาคบริการเดือนก.พ.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ส่วนพรุ่งนี้ (วัน ที่ 4 มี.ค.) ต้องติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.50 - 32.70 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.76 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 115.58 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1079 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1099 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,696.08 จุด เพิ่มขึ้น 6.27 จุด (+0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 113,829 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,892.22 ลบ.(SET+MAI)
- หอการค้าไทย คาดสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อ ชี้ผลกระทบทางตรงที่มีต่อไทยไม่มาก
- ประธานสมาคมธนาคารไทย เผยความคืบหน้ามาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ล่าสุด ณ วันที่ 14 ก.พ. 65 มาตรการสิน
- อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA)
ขณะที่สถิติการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ทั้ง 4 ระบบที่ ไทยได้รับสิทธิพิเศษอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ปี 64 มีมูลค่า 3,612.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.14% เมื่อเทียบกับปี 63
- กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ขณะนี้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น คาดการณ์ว่าจะพบการแพร่โรคต่อเนื่องไป
- ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียลง 6 ขั้น จากระดับ BBB สู่ระดับ B ซึ่งเป็นระดับ "ขยะ"
- เงินรูเบิลอ่อนค่าลงมากกว่า 10% สู่ระดับ 117.5 รูเบิลต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบ
- องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน มีแนวโน้มผลักดันให้การแพร่
- ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยให้
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นประจำเดือนก.พ.อยู่ที่ 35.3 ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3
- คืนนี้สหรัฐฯ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ