นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.97 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.70 บาท/ดอลลาร์
ปิดตลาดเย็นนี้ เงินบาทปรับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.01 บาท/ดอลลาร์ หลังเงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง โดยวันนี้ต่างชาติขายพันธบัตรระยะสั้น 9,000 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับลงค่อนข้างแรง และ ยังเป็นการขายสุทธิ หลังจากเหตุการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังไม่มีสัญญาณคลี่คลาย ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งขึ้นต่อ เนื่อง
"ตอนนี้ สถานการณ์ของรัสเซีย-ยูเครน ยังไม่แน่นอนมีโอกาสพลิกไปพลิกมาได้ตลอด มีโอกาสจะไปได้ทั้ง 2 ทาง ซึ่งหาก สถานการณ์คลี่คลาย ราคาน้ำมันไม่วิ่งขึ้นไปอีก ก็จะช่วยลดแรงกดดันของสกุลเงินในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน เช่น ไทยลงได้" นัก บริหารเงิน ระบุ
อย่างไรก็ดี ช่วงนี้ต้องจับตาสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนทิศทางราคาน้ำมัน และกระแสเงินทุนไหลออก ที่มีโอกาสจะขยายวงเพิ่มขึ้น
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อ ให้กรอบที่ 32.85-33.10 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.08 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 114.85 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0852 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,626.70 จุด ลดลง 45.02 จุด (-2.69%) มูลค่าการซื้อขาย 127,806 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,340.55 ลบ.(SET+MAI)
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อน
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยันไม่ห้ามประชาชนจัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยยังสามารถเดินทางข้ามจังหวัด
- รมช.คลัง ชี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินในขณะนี้ แม้สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก
- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 113.03
- เงินรูเบิลของรัสเซีย อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังมีปริมาณการซื้อขายนอกประเทศ
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศเตือนถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตยูเครน โดยระบุว่าความขัด
- สถาบันวิจัย Sentix ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนร่วงลงแตะระดับ -7.0 ในเดือน
- สัปดาห์นี้สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ดุลการค้าเดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมี.ค.