ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน โดยปรับอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 65 ลดลงเหลือ 2.9% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.7% และปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 3.8% จาก เดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.1% ภายใต้สมมุติฐานสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนสามารถเจรจาได้ข้อยุติภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ราคาน้ำมันดิบดู ไบเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล และประเทศตะวันตกมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตลอดทั้งปี
หากสถานการณ์เลวร้ายกว่านั้น แต่การสู้รบยังจำกัดอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศยูเครน และการเจรจายังมีความเป็นไปได้ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 105 ดอลลาร์/บาร์เรล และประเทศตะวันตกมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตลอดทั้งปี จีดีพีจะลดลงไปอยู่ที่ 2.5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 4.5%
ผลกระทบที่เกิดขึ้นข้างต้น จะส่งผ่านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ท่ามกลางการที่ภาครัฐมีมาตรการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย. 65 ส่งผลให้ในบางช่วงของปีหลังจากนั้นราคาน้ำมันดีเซลอาจจะขยับขึ้นเกิน 30 บาทต่อลิตร หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
"ปีที่แล้วเราก็ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว แต่ประเด็นเรื่องวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนมา เร่งให้มีผลต่อเศรษฐกิจไทยเร็วขึ้น" น.ส.ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าว
เครื่องชี้ที่สำคัญ 2564 2565 (ธ.ค.64) 2565 (มี.ค.65) กรณีปัญหายุติ Q3/65 กรณีปัญหายืดเยื้อ - GDP 1.6 3.7 2.9 2.5 - บริโภคภาคเอกชน 0.3 3.4 2.3 1.7 - บริโภคภาครัฐ 3.2 0.2 -0.2 -0.2 - การลงทุน 3.4 3.8 3.0 2.8 ภาคเอกชน 3.2 3.2 3.0 2.8 ภาครัฐ 3.8 6.4 4.4 4.4 - การส่งออก (ฐานศุลกากร ในรูป USD) 17.1 4.3 3.7 3.4 - การนำเข้า (ฐานศุลกากร ในรูป USD) 29.8 6.0 6.8 7.4 - อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 1.2 2.1 3.8 4.5 - ราคาน้ำมันดิบดูไบ 69.5 77.0 90.0 105.0 - จำนวนนักท่องเที่ยว 0.43 4.0 4.0 4.0 - อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50 0.50 0.50 0.50
น.ส.ณัฐพร กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของประเทศตะวันตกส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมันในตลาดโลกให้หาย ไป 1.5-2 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 3 ของโลก แต่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 1 ของโลก ขณะที่กลุ่มโอเปก ยังไม่ส่งสัญญาณที่จะเพิ่มกำลังการผลิต
นอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบต่อตลาดอาหารโลก เนื่องจากทั้งรัสเซีย-ยูเครนเป็นผู้ผลิตข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด และ น้ำมันดอกทานตะวันรายใหญ่ของโลก รวมถึงเป็นแห่งผลิตสินแร่สำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอกนิกส์ เพื่อผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ใน การผลิตรถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่การผลิตที่เกิดจากวิกฤตโควิด-19 เข้าไปอีก
น.ส.ณัฐพร กล่าวว่า วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนจะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยใน 3 ด้าน คือ อำนาจการใช้จ่ายของ ครัวเรือนลดลง การส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ซึมลง และการชะลอตัวด้านการท่องเที่ยว
สำหรับนโยบายการเงินยังคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% แต่การที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สังสัญญาณที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มากกว่า 6 ครั้ง และอัตราเงินเฟ้อของไทยปรับตัวสูงขึ้นที่มีผลต่อ การเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างประเทศจะเป็นแรงกดดันต่อ กนง.ให้ต้องพิจารณาเป็นรอบๆ ไป
ด้าน น.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า วิกฤตครั้งนี้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีต้นทุนการ ผลิตเพิ่มขึ้นอีก 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หรือขาดแคลนวัตถุดิบจนต้องชะลอการผลิต ซึ่งภาคธุร ต้องแบกรับไว้ และอาจส่งต่อการปรับราคาสินค้าหรือกำไรลดลง แต่ยังไม่ถึงกับมีปัญหาเลิกจ้าง
"ผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมแต่ละด้านมีความแตกต่างกัน ผันแปรไปตามสัดส่วนของต้นทุนและความสามารถในการปรับตัว"
ขณะที่การท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบผ่านการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรป แม้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เที่ยวไทยรวมในปี 2565 อาจแตะ 4 ล้านคน แต่การใช้จ่ายจะลดลงราว 5 หมื่นล้านบาทจากกรณีที่ไม่มีสงคราม แต่แนวโน้มนักท่องเที่ยว ต่างชาติยังให้ความสนใจที่จะเดินทางมาไทย ซึ่งจะทดแทนจากตะวันออกกลางและเอเชียใต้
นอกจากนี้ภาคการบริการอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ไม่เพียงแต่ต้นทุนที่ขยับขึ้น ค่าครองชีพที่สูงขึ้นของผู้บริโภค ยังวนกลับ มากดดันยอดขายภาคธุรกิจอีกด้วย ทำให้ในภาพรวมแล้วประเมินตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ค้าปลีก และ ร้านอาหารน้อยลงจากกรณีไม่มีสงคราม
ด้าน น.ส.ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า แม้การคว่ำบาตรทางการเงินของประเทศมหาอำนาจ ในโลกต่อรัสเซียจะมีผลกระทบทางตรงที่จำกัดตามปริมาณการค้าระหว่างรัสเซีย-ยูเครนกับไทย แต่จุดติดตามอยู่ที่สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ซึ่งจะ ทำให้การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินผันผวนต่อเนื่อง และต้นทุนการระดมทุนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากความไม่แน่นอนที่ยังอยู่และการ ขึ้นดอกเบี้ยของเฟด โดยภายในปี 2565 จะมีตราสารหนี้ภาคเอกชนที่รอครบกำหนดอีกกว่า 7 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากคงต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติมในแง่ของวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพิ่มเติม ในรายที่ยังประคองคำสั่งซื้อไว้ได้ รวมถึงประเด็นปรับโครงสร้างหนี้และคุณภาพหนี้ ซึ่งรวมแล้วสินเชื่อธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญจากต้นทุนน้ำมันและวัตถุดิบอาหารที่เพิ่มขึ้นจะมีสัดส่วนประมาณ 4-5% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ขณะที่ประเมินภาพสินเชื่อของ ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งปีนี้ที่ 4.5% ในกรณีฐาน
"ผลกระทบทางตรงกับไทยมีไม่มาก เพราะธุรกรรมการค้าระหว่างไทย-รัสเซีย-ยูเครนมีเพียง 0.6% เท่านั้น แต่จะมีผล กระทบทางอ้อมที่ตลาดการเงินมีความผันผวน และเงินเฟ้อพุ่งขึ้น" น.ส.ธัญญลักษณ์ กล่าว