ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.56/57 กลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้า รอปัจจัยใหม่ ติดตามประชุมกนง.สัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 25, 2022 17:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.56/57 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.45/48 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้ปรับตัวอ่อนค่าจากจากช่วงเช้า เนื่องจากระหว่างวันมีแรงไล่ซื้อขึ้นจนมาปิดตลาดที่ระดับแนวต้าน ทั้งนี้คาดว่า สัปดาห์หน้า หากไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา เงินบาทจะยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่า โดยปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์หน้า คือ การประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดเชื่อว่า กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิม

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ติดตามการออกมาให้ความเห็นจากประธานเฟดสาขาต่างๆ ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซียและยูเครน รวมถึงผลการประชุมระหว่างสหรัฐฯ กับองค์การนาโต้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้า ให้แนวต้านไว้ที่ 33.70-34.00 บาท/ดอลลาร์ และ แนวรับที่ 33.20-33.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 121.57 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 121.80 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1002 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,676.80 จุด ลดลง 4.09 จุด (-0.24%) มูลค่าการซื้อขาย 62,111 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 991.22 ลบ. (SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน โดยปรับอัตราการเติบ
โตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 65 ลดลงเหลือ 2.9% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.7% และปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 3.8%
จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.1% ภายใต้สมมุติฐานสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนสามารถเจรจาได้ข้อยุติภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ราคาน้ำมัน
ดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล และประเทศตะวันตกมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตลอดทั้งปี

หากสถานการณ์เลวร้ายกว่านั้น แต่การสู้รบยังจำกัดอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศยูเครน และการเจรจายังมีความเป็นไปได้ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 105 ดอลลาร์/บาร์เรล และประเทศตะวันตกมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตลอดทั้งปี จีดีพีจะลดลงไปอยู่ที่ 2.5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 4.5%

  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดว่าการส่งออกและนำเข้าของไทยในปี 65 จะขยายตัว
ได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่จะเป็นผลจากปัจจัยทางด้านราคามากกว่าปริมาณ ซึ่งจะแตกต่างจากสถานการณ์ในช่วงปี 64 ที่
เป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลักตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
  • นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 จะเติบโตในกรอบ
3.0-3.5% โดยจะได้รับปัจจัยหนุนหลักจากอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่ม
ประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก และเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง จึงสามารถเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
  • รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนก.พ. ว่า ภาพรวมการจัดตั้งธุรกิ เป็นไป
ตามแนวโน้มปกติที่จะยังคงมีการจดทะเบียนจัดตั้งสูงในช่วงต้นปี ทั้งนี้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง ลดลงเพียง 1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน (ก.พ. 64) และพบว่าจำนวนการจดทะเบียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 7 ปีที่ผ่านมา เฉพาะในเดือนก.พ. (59-
65) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล การเปิดประเทศ
แบบ Test & Go รวมทั้งสถานการณ์การส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการอ่อนค่าของค่าเงินบาทที่สร้างความมั่นใจให้
ผู้ประกอบการในการจัดตั้งธุรกิจ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะทยอยเผยแพร่เอกสารทิศทางและแนวนโยบายด้านต่าง ๆ ภายใต้แนว
นโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย ได้แก่ การกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล การพัฒนา
ระบบการชำระเงินไทย การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของสถาบันการเงิน และร่างหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้ง virtual bank ภาย
ในไตรมาส 2 ปี 2565 และทิศทางของ open banking ประมาณไตรมาส 3 ปี 2565 เพื่อรับฟังความคิดเห็นในแต่ละเรื่องจากผู้ที่เกี่ยว
ข้องต่อไป
  • การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี
2565 ลงมาอยู่ที่ 2.6% จากเดิมที่ 3.6% เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ
มหภาคของประเทศต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ระบุย้ำทัศนะของเขาในวันนี้ว่า เงินเยนที่อ่อนค่านั้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
โดยรวม โดยเป็นการปฏิเสธความวิตกกังวลที่ว่า เงินเยนที่ร่วงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปีอาจส่งผลร้ายมากกว่าผลดีต่อญี่ปุ่นซึ่งขาดแคลน
ทรัพยากรและต้องพึ่งพาการนำเข้า
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเร่งกำหนดกรอบการใช้กฎระเบียบควบคุมสกุลเงิน
คริปโทเคอร์เรนซี เพื่อป้องกันไม่ให้สกุลเงินดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านการเงินเป็นวงกว้าง
  • รัสเซียกำลังพิจารณารับชำระเงินค่าน้ำมันและก๊าซเป็นบิตคอยน์ เนื่องจากเผชิญการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จาก
บรรดาประเทศตะวันตกจากกรณีที่เข้ารุกรานยูเครน
  • ผู้ออกกฎหมายของยุโรปได้ตกลงที่จะออกกฎหมายใหม่ในชื่อกฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Market Act หรือ DMA)
เพื่อควบคุมการมีอำนาจเหนือตลาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างยาวนานว่าบริษัทเหล่านี้ใช้อำนาจเหนือตลาดจน
ทำให้บริษัทรายเล็กกว่าแข่งขันด้วยไม่ได้
  • สัปดาห์หน้า สหรัฐจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีการผลิตเดือนมี.ค., ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน

และอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.พ., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. จาก Conference Board, ตัวเลข

การจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย

สัปดาห์ และดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ