ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.66 อ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน กังวลข่าวจีนล็อกดาวน์กระทบท่องเที่ยว

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 28, 2022 09:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงปิด ตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.55 บาท เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไทย จากกรณีที่รัฐบาล จีนมีแนวโน้มล็อกดาวน์บางพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการจำกัดการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีน

"บาทอ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์จากความกังวลเรื่องจีนจะล็อกดาวน์บางพื้นที่ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาไม่ได้" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.55 - 33.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.35063% ส่วน THAI BAHT FIX 6M 0.54033%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 122.23 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 121.57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0971 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1002 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.512 บาท/ดอลลาร์
  • กระทรวงการคลัง คาดว่าจะประกาศตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ในเดือนเม.ย.2565 จากเดิมที่
คาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ขณะที่การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นทำให้การบริโภค และการใช้จ่ายในประเทศไทยลดลงนั้น ทั้งนี้ การปรับประมาณการทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของปี
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มุ่งเน้น
ให้การใช้จ่ายงบประมาณที่มีอยู่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ และอยู่ภายใต้กรอบวินัยการ
เงินการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการที่เป็นไปอย่างมีระบบ มีแผนงาน/โครงการที่ชัดเจน ทำให้ขณะนี้ฐานะทางการเงิน
การคลังของประเทศไทยยังมีเสถียรภาพที่เข้มแข็ง

-สงครามย่างเข้าสู่วันที่ 33 ยูเครนยังตั้งรับเหนียวแน่น รัสเซียได้แค่ล้อมยึดกรุงเคียฟไม่ได้ "เซเลนสกี" กดดันชาติตะวันตก กลัวจนไม่กล้าสนับสนุนอาวุธหนักให้ ด้านการข่าวชาติตะวันตกแฉหมีขาวอาจผนวกจังหวัดลูฮานสก์ที่ยึดแล้วกว่า 90% เป็นของรัสเซียในอีกไม่ นาน หากยึดทั้งประเทศไม่ได้รัสเซียอาจใช้วิธีแบ่งแยกยูเครนเป็นส่วนๆ ขณะที่อังกฤษย้ำ ชาวรัสเซียมีสิทธิตัดสินใจเรื่องการปกครองของ ประเทศตนเองเท่านั้น หลัง "ไบเดน" ปราศรัยที่โปแลนด์ "ปูติน" ไม่ควรอยู่ในอำนาจอีกต่อไป

  • หัวหน้าคณะเจรจาของรัสเซียเปิดเผยว่า คณะผู้แทนของรัสเซียและยูเครนจะจัดการเจรจาสันติภาพรอบใหม่ในวันที่ 29-
30 มี.ค.นี้ โดยจะเป็นการเจรจาแบบพบหน้ากัน
  • เทรดเดอร์ยังคงจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน และประเมินความเห็นเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายการ
เงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านการเงินของจีน ประกาศมาตรการล็อกดาวน์เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้ง
ใหญ่ โดยการล็อกดาวน์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน และจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (28 มี.ค.) ด้านสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่ง
ข่าวว่า เทสลาจะระงับการผลิตในโรงงานที่เซี่ยงไฮ้ในวันนี้ (28 มี.ค.) และทางบริษัทยังไม่ได้แจ้งพนักงานว่าจะขยาย
เวลาระงับการผลิตต่อไปอีกหรือไม่
  • โนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงค์ระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับแรงกดดันขาลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2563 ซึ่งถูกกระทบ
จากการระบาดระลอกแรกของโรคโควิด-19

นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่าง ๆ เป็นวงกว้างทั้งภาคบริการส่วน บุคคล, การก่อสร้าง และการผลิต ดังนั้นจึงเป็นการยากมากขึ้นที่จีนจะบรรลุเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ระดับราว 5.5% ในปี 2565

โนมูระได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกสู่ 4.2% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9% เนื่องจากมีการ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการที่แข็งแกร่งในเดือนม.ค.-ก.พ.

  • รัฐบาลอังกฤษเตรียมประกาศระเบียบการด้านการกำกับดูแลตลาดคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะในส่วนสเตเบิลคอยน์
(Stablecoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินคริปโทฯ ที่มีการตรีงมูลค่าไว้กับสกุลเงินหลักของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาคส่วนมีการเติบโต
อย่างรวดเร็ว
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการ

ว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตเดือนมี.ค. รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคา

PCE Price Index เดือนก.พ. และข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ไตรมาส 4/2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ