ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการส่งออกไทยปี 2565 ลงมาอยู่ที่ 3.4% จากเดิม 4.3% เนื่องจากความท้าทายของ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้บรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงกว่าในกรณีที่ไม่มีวิกฤตดังกล่าว โดยคาดว่า แรงขับเคลื่อนการส่งออกล้วนเป็นแรงหนุนของราคาสินค้าในกลุ่มปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน สินค้าเกษตร และกำลังซื้อในกลุ่มสินค้า จำเป็นที่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดโลก อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ และอาหารทะเล โดยการส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป (ไม่รวมอังกฤษ) เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกหลักของไทย
อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน สามารถมีข้อตกลงได้เร็วกว่าที่คาด อาจช่วยคลี่คลายแรงกดดันทาง เศรษฐกิจ และผลักดันให้การส่งออกขยับตัวสูงขึ้นไปขยายตัว 3.7% ได้ ทั้งนี้การประมาณการส่งออกดังกล่าว ได้คำนึงถึงปัจจัยฐานที่สูงในปี ก่อน ค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าแล้ว
"ยังคงต้องติดตามการแพร่ระบาดของโควิดในจีน และมาตรการโควิดเป็นศูนย์ ที่หากการแพร่ระบาดขยายขอบเขตออกไปใน วงกว้าง อาจจะเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า นอกเหนือจากผลระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน" บทวิเคราะห์ระบุ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ผ่านการค้าค่อนข้างน้อย เนื่องจากไทยมีมูลค่าการค้าร่วมกับรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย เพียง 3,166 ล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็น 0.6% ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ของไทยในปี 2564 โดยแบ่งเป็นการค้ากับรัสเซีย 2,780 ล้านดอลลาร์ฯ และยูเครน 386 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า กับทั้งสองประเทศ สินค้าที่ไทยนำเข้าเป็นหลักคือสินค้าพลังงานและปุ๋ย ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ รถยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพาราและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเล ผลไม้กระป๋อง
อย่างไรก็ดี ด้วยสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอน อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องจับตา ดังนี้
1) ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนในปีนี้ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น บวกกับค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าเป็น ประวัติการณ์ยิ่งซ้ำเติมความต้องการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะสงครามจึงยากที่สินค้าไทยจะทำตลาด ได้ในปีนี้ โดยเฉพาะการส่งออกไปรัสเซียที่น่าจะหดตัวรุนแรง อันเป็นผลพวงจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกและอุปสรรคในการชำระ เงิน
โดยรวมทำให้ไทยสูญเสียโอกาสส่งออกสินค้าไปทั้งสองประเทศ รวมเป็นมูลค่าราว 600-800 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2565 แต่ ผลดังกล่าวก็กระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยค่อนข้างจำกัด คิดเป็น 0.2-0.3% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย
2) ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรชะลอตัวลง จากปัญหาเงินเฟ้อจากอุปทานตึงตัวในกลุ่มสินค้าพลังงาน ธัญพืช และวัตถุดิบสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบของรัสเซียถึง 1 ใน 3 นำเข้าก๊าซธรรมชาติถึง 40% ซึ่ง การลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในด้านหนึ่ง ก็ส่งผลต่อเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวสูง กำลังซื้อของชาวยุโรปถูกจำกัดมากขึ้น โดย เฉพาะความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของไทย คิดเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกไปยุโรป เป็นสินค้า กลุ่มแรกอาจทำตลาดได้จำกัดในปี นี้ อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์ และเครื่องประดับ ขณะที่สินค้าจำเป็นอย่างอาหารและ ปัจจัยการผลิตยังมีโอกาสเติบโต อาทิ ยางพารา เม็ดพลาสติก อาหารทะเล ข้าว ไก่แปรรูป ผลไม้กระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง
3) การซ้ำเติมปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำ ที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลก ทำให้ ประเทศที่มีห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงกับรัสเซียอาจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น หรืออาจเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้ โดยไม่เพียงสินค้า โภคภัณฑ์ ธัญพืช ปุ๋ยเคมีที่มีสัญญาณราคาปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังคงต้องจับตามาตรการอื่นที่จะตามมาหลังจากนี้ อาจมีผลเกี่ยวพันถึงต้นทุน การนำเข้าสินค้าในทุกกลุ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำที่มีรัสเซียอยู่ในห่วงโซ่การผลิตด้วย อาจทำให้การนำเข้าของไทยเร่งตัวสูงขึ้น ในปีนี้ และมีโอกาสที่ไทยจะขาดดุลการค้ากับต่างประเทศครั้งแรกในรอบ 9 ปี
ตลาดส่งออก ปี 2564 (%) คาดการณ์ปี 65 (%) สหรัฐอเมริกา 21.5 3.3 สหภาพยุโรป (ไม่รวมอังกฤษ) 22.6 1.9 ญี่ปุ่น 9.5 2.7 จีน 24.8 4.8 อาเซียน 10.8 5.0 การส่งออกไทยโดยรวม 17.1 3.4