นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.59 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวระดับ เดียวกันกับเปิดตลาดเมื่อเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.55 - 33.67 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างนิ่งเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยตลาดยังคงให้ความสนใจกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (8 เม.ย.65) ทั้งนี้ในภาพรวมปริมาณธุรกรรมค่อนข้างบาง เนื่องจากภาคธุรกิจ หยุดสงกรานต์ การทำธุรกรรมจึงมีปริมาณน้อย สำหรับปัจจัยชี้นำถัดไป ตลาดรอดูอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.ของสหรัฐฯ ในคืนพรุ่งนี้ (12 เม.ย.65)
"วันนี้ตลาดภูมิภาคค่อนข้างนิ่ง อ่อนค่าหรือแข็งค่าไม่มาก ตลาดแกว่งตัวออกข้างมากกว่า โดยยังคงรอปัจจัยชี้นำใหม่ ด้านสกุล เงินเยนวันนี้อ่อนค่าหนัก เนื่องจากปัจจัยบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ขึ้นมาอยู่ที่ 2.75% ส่วน 2 ปี ขึ้นมาอยู่ที่ 2.57% บอลด์ยีลด์ขยับขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สกุลเงินเยนบอนด์ยีลด์ต่ำ จึงโดนกดดันในระยะนี้" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.50 - 33.70 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 125.38 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 124.86 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0924 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0888 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,678.46 จุด ลดลง 7.54 จุด, -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 62,755.06 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 554.39 ล้านบาท (SET+MAI)
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) เดือนมี.ค. ขยับลงมาอยู่ที่ 33.4
- ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน เม.ย.65 อยู่ที่ 64.97 จุด ลดลง 11.23
- ภาครัฐเตรียมนโยบายผลักดันเพื่อปลดล็อกเงื่อนไขการเข้าประเทศทั้งหมดให้เหมือนกับก่อนวิกฤตโควิด-19 หรือช่วงก่อนปี
- รมว.คลัง เน้นย้ำความสำคัญของการระดมทรัพยากรในประเทศ เช่น การปฏิรูปภาษี การผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการคลัง
- รายงานล่าสุดจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า คริปโทเคอร์เรนซีเป็นที่นิยมมากในกลุ่มประเทศที่มี
ผลการศึกษาของ IMF พบว่า สินทรัพย์ดิจิทัลอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ทำธุรกรรมเพื่อการคอร์รัปชัน หรือหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ ด้านการควบคุมทางการเงิน อย่างไรก็ตาม IMF ไม่ได้ระบุรายชื่อของแต่ละประเทศโดยตรง
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เดือนก.พ. ของอังกฤษ เพิ่ม
- ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เน้นย้ำถึงจุดยืนของ BOJ ในการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งถือเป็นการ
- มอร์แกน สแตนลีย์ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2565 ลงเหลือ
- นักลงทุนให้ความสนใจกับข้อมูลเงินเฟ้อ และยอดค้าปลีกเดือน มี.ค.ของสหรัฐฯ เพื่อประเมินแนวทางการคุมเข้มนโยบาย
- ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) วันที่ 14 เม.ย. ซึ่งคาดว่าจะแสดงความกังวลมากขึ้นต่อเงินเฟ้อที่เร่ง
ตัวแม้เศรษฐกิจยูโรโซนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามในยูเครน และมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย