ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.72 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังดอลลาร์แข็งค่ารับคาดการณ์เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 19, 2022 09:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.72 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.67 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จำนวน 0.50% ในการประชุมกลางเดือน พ. ค.65 และคาดว่าจะปรับขึ้นอีก 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไป

"บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลังนักลงทุนกังวลเรื่องที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน
กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.60 - 33.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (18 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.35397% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.38719%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.25 เยน/ดอลลาร์ นิวไฮในรอบ 20 ปี จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 126.60 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0772 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันอังคารที่ระดับ 1.0792 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.663 บาท/ดอลลาร์
  • "เฟทโก้" เดินหน้าค้านเก็บภาษีขายหุ้น หวั่นกระทบเม็ดเงินฟันด์โฟลว์ต่างชาติ-วอลุ่มเทรดนักลงทุนสะดุด "มอร์นิ่งสตาร์"
คาดมีเม็ดเงินไหลออกกองทุนหุ้นไทย "สรรพากร" เผยจัดทำระบบเก็บภาษีเสร็จแล้ว เตรียมหารือกับระดับนโยบาย กำหนดแนวทางจัด
เก็บ
  • รมว.คลัง เปิดเผยถึงการปรับลดเพดานก่อหนี้ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 จาก 35% เหลือ 30%
ของงบรายจ่าย ซึ่งครบกำหนดสิ้นเดือน ก.ย.65 ว่า ยังไม่แน่ใจว่าปรับลดเพดานหนี้เหลือ 30% ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ เพราะต้องดู 3
ส่วนประกอบกัน ได้แก่ 1.งบประมาณของปี 66 ว่ามีเงินที่ตั้งชดเชยมาตรา 28 เท่าไร 2.โครงการที่ได้รับอนุมัติและกำลังใช้เงินมาตรา
28 ในปัจจุบันว่าสามารถปิดโครงการและส่งเงินคืนกลับมาได้บ้าง และ 3.โครงการใหม่ที่จะดำเนินในปี 65 และปี 66 นั้น ต้องไปดูว่า
ขนาดของโครงการ เช่น โครงการประกันรายได้ข้าวจะใช้เงินเท่าไร สามารถปรับลดวงเงินลงมาให้อยู่ในกรอบของการใช้เงินมาตรา
28 ได้หรือไม่
  • นายกฯสั่งทุกหน่วยงานจับตาสถานการณ์โควิด คาดใช้เวลา 1 สัปดาห์ประเมินสถานการณ์ "อนุทิน" เผยขอประเมิน
สถานการณ์ 14 วัน พิจารณาชงศบค.คลายล็อก ลุ้น 1 ก.ค.ปลดโควิด โรคประจำถิ่น กรมควบคุมโรคจับตาหลังสงกรานต์ 2-4 สัปดาห์
เฝ้าระวัง 2 กลุ่มหลัก หากสถานการณ์เป็นตามคาดการณ์ไม่กระทบเป้าเป็นโรคประจำถิ่น เดือนก.ค. ด้านบราซิลเตรียมยกเลิกมาตรการ
สาธารณสุขฉุกเฉินที่ใช้มากว่าสองปี
  • ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ได้ประกาศยกเลิกคำเตือนห้ามเดินทางมายังประเทศไทยและอีก 89 ประเทศ
โดยล่าสุดให้ไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากโควิด-19 ในระดับ 3 จากเดิมอยู่ที่ระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด การจัดอันดับไทยอยู่ในกลุ่ม
ความเสี่ยงระดับ 3 หมายความว่า ไทยมีความเสี่ยงสูงจากโควิด-19 โดยรัฐบาลสหรัฐแนะนำให้ชาวอเมริกันทำการฉีดวัคซีนโควิด-19
สูตรที่มีการปรับปรุงล่าสุดก่อนเดินทางมายังประเทศไทย
  • สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 2 จุด สู่ระดับ 77 ในเดือน
เม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยมีสาเหตุจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน สต็อกบ้านในระดับต่ำ การพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนอง, ราคาบ้าน และต้นทุนในการก่อสร้าง
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปีในวันนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่
ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (18 เม.ย.)
เนื่องจากเทรดเดอร์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนต่อ ๆ ไป ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (18 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะ
สินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ
  • นักลงทุนจับตารายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ของเฟดที่จะมีการเปิดเผยในวันพุธนี้ (20 เม.ย.) ซึ่งจะ
บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • ประธานธนาคารโลก ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่ระดับ 3.2% จากเดิมที่ระดับ
4.1% โดยได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการปรับลดคาดการณ์การขยายตัว
ของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้คือการหดตัวถึง 4.1% ของเศรษฐกิจยุโรปและเอเชียกลาง ซึ่งประกอบด้วยยูเครน รัสเซีย และประเทศใกล้
เคียง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ