นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.71 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.85 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทกลับมาแข็งค่าจากช่วงเช้า ปัจจัยยังมาจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ที่วานนี้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดใน รอบกว่า 3 ปี แต่ระหว่างวันบอลด์ยีลด์ย่อตัวลง และมีแรงขายสกุลเงินดอลลาร์ออกมาบ้าง โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.75 - 33.89 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้สกุลเงินภูมิภาคเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกัน ช่วงเช้าอ่อนค่า และลดลงมาในช่วงบ่าย" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.65 - 33.85 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ตลาดจับ ตา คือบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ส่วนคืนนี้ต้องติดตามยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.93 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 129.28 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0858 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0785 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,680.35 จุด เพิ่มขึ้น 4.73 จุด (+0.28%) มูลค่าการซื้อขาย 69,124 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,107.83 ลบ. (SET+MAI)
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (โครงการฯ
- ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ชุดใหญ่วันที่ 22 เมษายนนี้คาดว่าจะมีวาระสำคัญ ในการเตรียมความพร้อมเปิด
- นายกรัฐมนตรี พอใจต่อแผนงาน "Air Travel Bubble" ระหว่างไทย-อินเดีย ที่หน่วยงานภาครัฐได้พัฒนาความร่วมมือ
- สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยล่าสุดดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20
- ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.7% และคงอัตราดอกเบี้ย
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ตัดสินใจเสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีโดยไม่จำกัดจำนวนซึ่งมีอัตราผลตอบ
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า การซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีที่พุ่งขึ้นในตลาดเกิดใหม่อาจส่งผลกระทบ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่เฟด
- คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค., สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์