ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.03 อ่อนค่าในรอบ 5 ปี กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย-จีนล็อกดาวน์ปักกิ่งกระทบศก.

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 25, 2022 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.03 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.99 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกเนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า จากความกังวลเรื่องธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และผลกระทบทางเศรษฐกิจกรณีที่จีนมีการล็อกดาวน์กรุงปักกิ่งบางพื้นที่ โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.95 - 34.05 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทอ่อนค่าทำนิวไฮในรอบ 5 ปี เนื่องจากความกังวลเรื่องเฟดเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยและจีนจะล็อกดาวน์ปักกิ่ง" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.95 - 34.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 128.18 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 128.66 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0735 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0803 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,675.33 จุด ลดลง 15.26 จุด, -0.90% มูลค่าการซื้อขาย 71,362.14 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 408.90 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทีมเศรษฐกิจ จัดทำแผนเพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการส่ง
เสริมการลงทุน สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ประกาศหลายมาตรการ เนื่องจากหลายประเทศได้เปิดประเทศ สามารถเดิน
ทางได้มากขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนของการโรดโชว์ในต่างประเทศนั้นเริ่มจากญี่ปุ่นเป็นแห่งแรก ซึ่งตามแผนงานของสำนักงานบีโอไอ
จะทยอยเดินทางไปประเทศที่มีการลงทุนในไทยมากและเปิดประเทศแล้ว เช่น ยุโรป สหรัฐฯ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบที่รอง
นายกรัฐมนตรีนำคณะไปในนามของรัฐบาล และระดับการให้ข้อมูลโดยสำนักงานบีโอไอเอง
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่าในปี 2565 สัด
ส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ครัวเรือนไทยจะยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากแรงกดดันด้านราคาสินค้าที่
เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ตลาดแรงงานอาจฟื้นตัวไม่ทันภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน รวมถึงอาจทำ
ให้มีการก่อหนี้ใหม่เพิ่มเติมเพื่อชดเชยสภาพคล่อง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มที่จะยังทรงตัวในปีนี้ แม้ว่า
หนี้ครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในด้านปริมาณ (Real GDP) และด้านของราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำ
ให้ Nominal GDP (GDP ตามราคาปัจจุบัน) ยังขยายตัวสูงขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกับการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน
  • รมว.คลัง ย้ำว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะมีการต่ออายุมาตรการคนละครึ่ง เฟส 5 หรือ
ไม่ ซึ่งต้องมีการประเมินปัจจัยหลายด้าน ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจ และข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ในโครงการ อย่างไรก็ดี พบ
ว่าดัชนีต่างๆ ที่เป็นตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น มีการจ้างงานในภัตตาคาร ร้านอาหาร ขณะที่โรงงาน มีการเพิ่มกำลังการผลิต มีการ
จ่ายโบนัส ถือว่าประชาชนเริ่มมีรายได้กลับมาแล้ว มีขีดความสามารถในการใช้จ่ายตามกำลังมากขึ้นแล้ว
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน มี.ค.65 อยู่ที่ 93,840 คัน
ลดลง 10.21% จากเดือน มี.ค.64 แต่เพิ่มขึ้น 18.11% จากเดือน ก.พ.65 เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ในรถ
ยนต์นั่งบางรุ่น ส่งผลให้การผลิตและส่งออกลดลงในตลาดรถยนต์นั่ง เช่น เอเชีย, ออสเตรเลีย และยุโรป ยังคงต้องติดตามการสู้รบใน
ยูเครนอย่างใกล้ชิดต่อไปที่อาจทำให้การขาดแคลนวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น
  • การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีนย่ำแย่ลง หลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงปักกิ่งเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ทาง
การจีนตัดสินใจล็อกดาวน์พื้นที่บางแห่งในกรุงปักกิ่ง และถือเป็นการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อปักกิ่งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ขณะที่เจ้าหน้าที่
ฝ่ายกำหนดนโยบายของจีนกำลังพยายามเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิดวิกฤติแบบที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจในขณะนี้
  • บริษัทโนมูระ โฮลดิงส์ อิงค์ ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเป็น 3.9% เนื่องจากจีนยืนกรานที่จะ
ใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero Covid) ต่อไป จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงเกินกว่าที่นโยบายการเงินจะพยุงไว้ได้
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางจีน แนะรัฐบาลควรออกมาตรการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 และกระตุ้น
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ให้กลับมาโตสูงกว่า 5%
  • รัฐบาลญี่ปุ่นจะอัดฉีดงบประมาณราว 6.2 ล้านล้านเยน เพื่อเป็นเงินอุดหนุนและใช้สำหรับมาตรการอื่น ๆ ที่มุ่งบรรเทาผล
กระทบทางเศรษฐกิจจากราคาเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นเนื่องจากสงครามในยูเครน
  • หัวหน้าฝ่ายกิจการประเทศญี่ปุ่นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า การทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วของเงิน
เยนอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะเป็นปัจจัยขัดขวางไม่ให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-
19 เนื่องจากการทรุดตัวของเงินเยนทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
  • ตลาดจะติดตามข้อมูลจีดีพีไตรมาสแรก และค่าใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลเดือนมีนาคมของสหรัฐฯ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า
เฟดอาจจะปรับขึ้นกรอบเป้าหมายดอกเบี้ยสู่ 2.75-3.00% ภายในปีนี้ จากระดับปัจจุบันที่ 0.25-0.50% อีกทั้งนักลงทุนคาดว่าเฟดจะเริ่ม
ปรับลดขนาดงบดุล ซึ่งจะกระทบการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ