ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.22 อ่อนค่าต่อจากช่วงเช้า หลังนลท.ปิดรับความเสี่ยงหันถือดอลลาร์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 26, 2022 17:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.22 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.08 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.02 - 34.28 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้ยังไร้ปัจจัยใหม่ เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อน ค่าเนื่องจากตลาดยังปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลก ด้านการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคเป็นแบบผสม ทั้งอ่อนค่า และแข็งค่า

"วันนี้บาทอ่อนค่าแตะ 34.28 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งยังคงอ่อนค่าสุดตั้งแต่ปี 60 หรือในรอบ 5 ปี" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จาก Conference Board และยอดขายบ้านใหม่ เดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ และในช่วงนี้ยังต้องติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.10 - 34.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.81 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 127.43 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0691 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0728 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,668.97 จุด ลดลง 6.36 จุด (-0.38%) มูลค่าการซื้อขาย 81,575 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 20.14 ลบ. (SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยเดือนมี.ค. 65 การส่งออกขยายตัว 19.5% ที่มูลค่า 28,859.6 ล้านเหรียญฯ ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่า
การส่งออกที่สูงสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่การนำเข้า ขยายตัว 18.0% ที่มูลค่า 27,400.6 ล้านเหรียญฯ ส่งผลให้เดือนมี.ค. ไทยเกิน
ดุลการค้า 1,459.1 ล้านเหรียญฯ พร้อมเชื่อทั้งปีนี้การส่งออกจะขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4-5%
  • สำนักวิจัย CIMBT คาดว่า เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐได้อีกใน 1-2 เดือนข้างหน้า จากความเป็นไปได้ที่
เฟดพร้อมเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยต้นเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ครั้งละ 0.50% ไปอยู่ที่ระดับ 1.50% ประกอบกับทำมาตรการ QE หรือการ
ลดงบดุลเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะที่ตลาดทุนกังวลความเสี่ยงที่สหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้า
หลังมีสัญญาณ inverted yield curve หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว และมีโอกาสที่
บาทจะอ่อนค่าไปถึงระดับ 36 บาท/ดอลลาร์
  • นายกรัฐมนตรี ระบุ โครงการคนละครึ่งเฟส 5 ยังไม่ได้ข้อสรุป หลังมีข่าวว่าอาจมีการปรับเงื่อนไขเป็นรัฐจ่าย 25%
ประชาชนจ่าย 75% ส่วนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ นั้น กระทรวงคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสำนักงบ
ประมาณ ต้องไปหารือกัน เพราะทุกคนทราบดีว่างบประมาณของภาครัฐมีจำกัด
  • หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน
เร็ว ๆ นี้ และคาดการณ์ว่า ECB มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งในปีนี้ โดยการแสดงความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับกรรมการอีก
หลายคนของ ECB ที่เรียกร้องให้มีการคุมเข้มนโยบายการเงิน
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) แถลงว่าจะเพิ่มมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลง
ทุนในช่วงเวลาที่ตลาดได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา และผลกระทบจากการที่จีนใช้มาตรการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวเพียง 4.9% ในปี 2565 เนื่องจาก
เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มเผชิญปัญหา Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงและเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ สงคราม
ยูเครน รวมทั้งการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเอเชียเผชิญกับความไม่
แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ