ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.08 อ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค กังวลโควิดระบาดในจีนกระทบเศรษฐกิจโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 26, 2022 09:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.08 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อ จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.03 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทยังคงอ่อนค่าตามทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคที่ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ตลาดเริ่ม ปิดรับความเสี่ยง และกลับมาถือครองสกุลเงินดอลลาร์ และเงินเยนกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น

ประกอบกับตลาดจับตาการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งของจีน ในกรุงปักกิ่ง หลังพบการระบาดของโควิดอีกรอบ ซึ่งทำให้ตลาด กังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยที่ต้องจับตาในช่วงนี้ คือการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศจีน รวมทั้งทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐ (บอนด์ยีลด์ป

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.00 - 34.20 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.50620% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.59939%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 128.18 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0728 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0735 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.001 บาท/ดอลลาร์
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท. เตรียมเชิญสมาคมผู้ประกอบการหารือ เพื่อสรุปแผน
กระตุ้นแผนการตลาดท่องเที่ยว โดยตลาดในประเทศจะหารือ 27 เม.ย. 2565 และตลาดต่างประเทศจะหารือวันที่ 29 เม.ย. 2565
ในการประชุมจะสรุปแผนกระตุ้นการท่องเที่ยว เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทย รวมถึงเป้าหมายรายได้จาก
การท่องเที่ยว หลังมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ผ่อนคลายเกณฑ์การเดินทางเข้าไทย 1 พ.ค.นี้
  • เอกชนท่องเที่ยวร้องยกเลิกไทยแลนด์พาส ตั้งแต่ 1 มิ.ย.นี้ "วิชิต" เผยจะได้นักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์เพิ่มขึ้นอีก 2 ล้าน
คน "นายกแอตต้า" ชี้รัฐบาลจีนอนุญาตคนจีนเที่ยวต่างประเทศ อาจต้องรอไปถึงต้นปี 2566 "ธเนศ" เสนอใช้กรอกเอกสารเข้าประเทศ
แบบมัลดีฟส์ ขั้นตอนรวดเร็วได้รับความนิยมสูง
  • พาณิชย์จับตาปาล์มน้ำมัน-ปาล์มขวด หลังอินโดฯ ห้ามส่งออก หวั่นคนไทยกินของแพง เดินหน้าขอความร่วมมือตรึงราคา
สินค้าต่อ และจัดกิจกรรมลดค่าครองชีพ ย้ำถ้ารัฐเลิกตรึงราคาดีเซล กระทบต้นทุนขนส่ง-ผลิตเล็กน้อย ด้านผู้เลี้ยงหมูย้ำขึ้นราคาเพราะต้น
ทุนพุ่ง และมีหมูลักลอบนำเข้ามาขายแข่งอีก
  • "พลังงาน" เร่งเคาะแผน ตรึงดีเซลหลังหมดโปรลิตรละ 30 บาท วันที่ 30 เม.ย.นี้ "กุลิศ" เตรียมหารือ "คลัง" ต่อ
มาตรการลดภาษีดีเซล 3 บาท ชี้ทุกอย่างเป็นไปได้ ลุ้นต่อลดภาษีระยะสั้น 1 เดือน สมาพันธ์ขนส่งยื่นนายกฯ ลดภาษีดีเซลเหลือ 20 ส.ต.
เท่าน้ำมันเครื่องบิน
  • รมว.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดเก็บภาษีขายหุ้นว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดอยู่ ว่าจะมีความ
เหมาะสมเก็บในเมื่อใด ส่วนจะเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่การขายหุ้นในราคาเท่าไรนั้น มีข้อเสนอมาว่าจะให้เก็บตั้งแต่บาทแรกเพื่อความเท่า
เทียม หรือบางส่วนเสนอให้เก็บเฉพาะรายการที่มีการขายตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เรื่องนี้ยังต้องพิจารณารายละเอียดโดยตามกฎหมายได้
ประกาศให้จัดเก็บได้ในอัตรา 0.1%
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในวันนี้ว่า ภูมิภาคเอเชียจะเผชิญกับแนวโน้ม
เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อสูง (stagflation) ท่ามกลางความไม่แน่นอนอย่างมาก โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดไว้
ก่อนหน้านี้ และเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (25 เม.
ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสงครามอันยืดเยื้อระหว่างรัส
เซียยูเครน และการล็อกดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ของจีนที่ย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนในวันจันทร์ (25 เม.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของ
สกุลเงินดอลลาร์ และความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด
  • นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวว่า เขาสนับ
สนุนให้เฟดดำเนินการเร็วขึ้นเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ และส่งสัญญาณว่ามีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.
ค. ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% นับตั้งแต่ปี 2543
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค.,
ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวล
รวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ