นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2565 ว่า ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในทุกภูมิภาค
-เศรษฐกิจภาคตะวันออก
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 40.8% และ 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับรายได้เกษตรกรแม้ว่าชะลอตัวลง -3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 36.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.7% และ 23.3% ตามลำดับ แม้ว่าเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลง -65.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 60.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้วยเงินทุน 1.5 พันล้านบาท จากโรงงานนำเศษยางเสื่อมสภาพมาบดย่อย อัด และรีดเป็นแผ่น เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ในจังหวัดระยอง และจากโรงงานจัดเก็บ แบ่งบรรจุตามขนาดจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 167.1% และ 243.6% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 111.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 109.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.2
- เศรษฐกิจภาคตะวันตก
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายได้เกษตรกรขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.7% แต่ชะลอลง -39.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 11.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลง -12.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 0.6% ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 350.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลง -19.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 55.7% และ 22.9% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.6
- เศรษฐกิจกทม. และปริมณฑลง
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัว 14.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลง -10.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 33.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 13.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 2.1 พันล้านบาท จากโรงงานถอดแยกและบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดสมุทรปราการ และจากโรงงานการพิมพ์ฟิล์มพลาสติก การพิมพ์กระดาษ และตบแต่งสิ่งพิมพ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสำคัญ สอดคล้องกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.3% ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 16.5 ต่อปี แต่ชะลอลง -1.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 35.5% และ 39.4% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 41.7
- เศรษฐกิจภาคเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัว 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลง -27.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอลง -3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.2% และ 15.5% ตามลำดับ ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 124.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลง -8.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 60.7% และ 72.4% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 64.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 61.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.1
- เศรษฐกิจภาคกลาง
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.7% แต่ชะลอลง -19.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่แม้ว่าจะชะลอลง -10.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว 2.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 10.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 64.4% และ 32.8% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 85.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.6
- เศรษฐกิจภาคใต้
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว 8.0% และ 29.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 25.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 18.0% และ 11.7% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 86.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 83.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.6
- เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัว 7.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -27.7% สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลง -2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 4.5 ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคา และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ด้านเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมดขยายตัว 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมแม้ว่าจะชะลอลง -8.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัว35.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 83.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 81.6 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.4