ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.33 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า ตลาดจับตาประชุม BOJ หลังเยนอ่อนค่าหนัก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 27, 2022 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.33 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.30 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลกจากการที่ดอลลาร์แข็งค่า ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 34.28 - 34.40 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันบาทอ่อนค่าทำนิวไฮในรอบ 5 ปี แตะที่ระดับ 34.40 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.25 - 34.40 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้อง ติดตามคือ ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หลังเงินเยนอ่อนค่าสุดในรอบ 20 ปี

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 127.85 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 127.45 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0615 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0638 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,661.89 จุด ลดลง 7.08 จุด, -0.42% มูลค่าการซื้อขาย 76,764.75 ล้าน
บาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,370.05 ล้านบาท (SET+MAI)
  • คลังปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 65 ลงเหลือเติบโต 3.5%จากเดิมคาดการณ์
ไว้ที่ 4% เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าไทยชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม
สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ รวมทั้งราคาพลังงาน และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
  • คลังเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน มี.ค.65 เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการส่ง
ออก และภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย แต่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่ง
ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและระดับราคาสินค้าภายในประเทศ
  • ศูนย์วิจัยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้การส่งออกของไทยในเดือน มี.ค.65 ที่ขยายตัว 19.5% มูลค่า28,859 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 30 ปี หากหักสินค้าทองคำมูลค่าการส่งออกจะขยายตัว 9.5% ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวลงจาก
เดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตโลก และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรัลดลงต่ำที่สุดในรอบ 18
เดือน และ 20 เดือน ตามลำดับ สะท้อนทิศทางการชะลอตัวในภาคการผลิตและการค้าโลกในระยะข้างหน้า
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงินวันแรกในวันนี้ และจะมีการแถลงมติการประชุมในวันพรุ่ง
นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า BOJ จะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (ultraloose monetary policy) ต่อ
ไป เนื่องจากเล็งเห็นว่า การดีดตัวของเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นจากปัจจัยชั่วคราว
  • ธนาคารโลกออกรายงานเตือนสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อตลาดสินค้า
โภคภัณฑ์ อีกทั้งสร้างความเสียหายต่อระบบการค้า การผลิต และการอุปโภคบริโภคทั่วโลก โดยคาดการณ์ราคาพลังงานจะพุ่งขึ้นกว่า 50%
ในปี 2565 ก่อนจะชะลอตัวลงในปี 2566 และ 2567
  • กลุ่มผู้บริหารในภาคการเงินระบุว่า การล็อกดาวน์ยาวนาน 4 สัปดาห์ของเซี่ยงไฮ้ที่ทำให้ประชาชน 26 ล้านคนในเมือง
ต้องอยู่แต่ในบ้าน ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำข้อตกลงทางการเงินและทำให้ธุรกรรมบางอย่างต้องหยุดชะงักเนื่องจากอุปสรรค
ด้านโลจิสติกส์
  • กระทรวงเศรษฐกิจรัสเซียเปิดเผยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียอาจหดตัวลง 8.8% ในปี 2565 หรืออาจถึง 12.4% ใน
กรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้เพิ่มเติมว่า แรงกดดันจากการคว่ำบาตรกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซีย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ